วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจัดการระหว่างประเทศ


การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจระหว่างประเทศ
  1. ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
    1. ลักษณะสภาพการณ์โดยทั่วไปของประเทศคู่ค้า
      • จำนวนและความหนาแน่นของประชากร
      • อัตราการเจริญเติบโตของประชากร
      • โครงสร้างอายุของประชากร
      • การกระจุกตัว หรือ การกระจายของประชากรในพื้นที่ต่าง ๆ
      • ระดับรายได้และการกระจายรายได้ของประชากร
    2. การพัฒนาการตลาดของประเทศคู่ค้า เป็นการพิจารณาถึงความพร้อมของปัจจัยหลักต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่
      • ระบบการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
      • ระบบการติดต่อสื่อสาร
      • การพัฒนาตัวกลางหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ที่จะให้ความสะดวกต่อการทำธุรกิจระหว่างประเทศ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทขนส่ง บริษัทโฆษณา
    3. มาตรการควบคุมการค้าระหว่างประเทศของรัฐบาลประเทศคู่ค้า เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายใน และการสนับสนุนให้ธุรกิจภายในประเทศเติบโต รวมถึงรักษาระดับการจ้างงานภายในประเทศ ได้แก่
      • มาตรการทางด้านภาษี
      • มาตรการควบคุมที่ไม่ใช่ภาษี เช่น การกำหนดมาตรฐานของสินค้านำเข้า การบังคับแหล่งที่มีของสินค้า มาตรการการกำหนดโควตาการนำเข้า
    4. ดุลการชำระเงินของประเทศคู่ค้า ดุลการชำระเงินจะเป็นตัวบ่งชี้ความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ กรณีการเกิดภาวะเกินดุลแม้จะบ่งชี้ว่าสภาพทางเศรษฐกิจของประเทศดี แต่หากเกิดติดต่อเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อ ส่วนกรณีเกิดสภาวะการขาดดุลเป็นเวลานานก็จะทำให้ทุนสำรองของประเทศลดลง เกิดการขาดสภาพคล่องในระบบส่งผลต่อภาวะการลงทุน การจ้างงาน และปัญหาทางเศรษฐกิจอื่น ๆ และขาดความน่าเชื่อถือในการซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศ
    5. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม ประเทศคู่ค้าแต่ละประเทศจะมีลักษณะของสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอันมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน ได้แก่
      • ศาสนา
      • การศึกษา
      • ภาษา
      • วิถีชีวิต
      • รสนิยม
    6. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมด้านการเมืองการปกครอง มีความเกี่ยวพันกันโดยตรงกับการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ในลักษณะของการดำเนินการทางด้านนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลของแต่ละประเทศ เช่น
      • ฐานคติด้านการเมือง เช่น โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองแบบทันนิยมแบบประชาธิปไตย ย่อมเปิดกว้างมากกว่าฐานคติแบบสังคมนิยมหรือแบบชาตินิยม
      • ความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในการลงทุน
      • ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะเป็นลักษณะของการรวมกลุ่มกันทางเศรษฐกิจ เช่น EU AFTA NAFTA การรวมกลุ่มกันของประเทศต่าง ๆ จะทำให้มีอำนาจเจรจาต่อรองสูง และจะได้รับสิทธิพิเศษบางประการทางการค้า
  2. ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม
    • โดยการวิเคราะห์ประเมินถึงรูปแบบและความรุนแรงในการแข่งขันของบรรดาธุรกิจที่ได้ดำเนินการแข่งขันภายในตลาดของประเทศคู่ค้า
    • จำนวนคู่แข่งขัน
    • ข้อแตกต่างระหว่างสินค้าของคู่แข่ง
    • ภาพพจน์ชื่อเสียงของสินค้าของคู่แข่ง
    • ฐานะทางการเงิน
    • ต้นทุนสินค้าของคู่แข่ง
    • อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม
    • การพัฒนาและวิจัยสินค้า
  3. ปัจจัยภายในประเทศ
    • เพื่อประเมินศักยภาพและความพร้อมของบริษัทในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ
    • คุณภาพสินค้า
    • ต้นทุนสินค้า
    • ความสามารถของการได้มาซึ่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพและต้นทุนต่ำ
    • กระบวนการภายใน
    • ทักษะความสามารถของสมาชิก
    • ความสามารถของการแสวงหาแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ
  4. . ปัจจัยภายในประเทศของบริษัท
  • โดยเฉพาะนโยบายของประเทศ จะมีผลต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งในบริษัท ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ในการพัฒนา การช่วยเหลือในการหาตลาด การผ่อนปรนข้อกีดกันทางการค้า การงดเว้นภาษีนำเข้าด้านวัตถุดิบ การงดเว้นภาษีส่งออก และยังเกี่ยวข้องถึงแหล่งวัตถุดิบ แหล่งแรงงานและแหล่งพลังงาน ตลอดจนอุตสาหกรรมพื้นฐานภายในประเทศที่เพียงพอและเข้มแข็ง ก็จะส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศด้วย
    วิธีการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ
    การส่งออก ( Exporting ) ซึ่ง จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
  • การส่งออกโดยอ้อม ( indirect exporting ) เป็นวิธีการที่ระบบกิจกรรมการส่งออกต่างๆ เช่น ระบบการตลาด และการจัดจำหน่ายจะผ่านบริษัทคนกลางโดยบริษัทผู้ส่งออกจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ผลิตเท่านั้น ส่วนบริษัทคนกลางจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งออก ขายสินค้าให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ
  • การส่งออกโดยตรง ( Direct exporter ) เป็นวิธีการส่งออกที่บริษัทผู้ผลิตทำการติดต่อหรือดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยตรงไปยังลูกค้าในต่างประเทศโดยไม่ผ่านคนกลางในประเทศ เช่น บริษัทผู้ผลิตจัดตั้งแผนกส่งออก , ขายผ่านบริษัทตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ
  • การร่วมทุนกับผู้ประกอบการในต่างประเทศ ( Joint venture) เป็นวิธีการที่มีการร่วมทุนกันระหว่างผู้ลงทุนต่างประเทศและในประเทศร่วมกันจัดตั้งกิจการขึ้น โดยมีอำนาจและการบริหารงานร่วมกัน การรวมกันของทั้ง 2 ฝ่าย จะมุ่งที่จะผนึกกำลังเสริมแรงซึ่งกันและกัน ด้วยการรวมทรัพยากรและความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่าย
  • การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ ( Direct Investment) มี 2 วิธี คือ
  • การลงทุนทางอ้อม ( Portfolio Investment) เป็นการลงทุนโดยผู้ลงทุนทำการซื้อหุ้น หรือหลักทรัพย์ของบริษัทในต่างประเทศ ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ เป็นต้น โดยมุ่งหวังผลตอบแทนจากหลักทรัพย์นั้นๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของเงินปันผล ดอกเบี้ย หรือกำไรส่วนทุน ซึ่งไม่ได้มุ่งหวัง เข้าไปบริหารจัดการบริษัท
  • การลงทุนทางตรง ( Direct Investment) เป็นการลงทุนทีผู้ลงทุนมุ่งหวังที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร และควบคุมกิจการ ซึ่งสามารถทำได้โดยวิธีการดังนี้ เข้าไปซื้อกิจการของบริษัทที่มีอยู่เดิม , การตั้งกิจการสาขาของตนเองในต่างประเทศที่ต้องการลงทุน , การตั้งกิจการใหม่ขึ้นในต่างประเทศที่ต้องการลงทุน เป็นต้น
 
การชำระเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ
    1. การจ่ายเงินล่วงหน้า ( Cash or Advance Payment ) วิธีนี้ผู้ซื้อจะส่งเงินให้แก่ผู้ขายไปก่อน เมื่อผู้ขายได้รับเงินแล้วจึงจะส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อ
    2. การจ่ายเงินเชื่อ ( Open Account ) วิธีนี้ผู้ขายจะส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อก่อนและได้รับชำระเงินจากผู้ซื้อภายหลัง
    3. Consignment เป็นการจ่ายเงินเมื่อผู้ซื้อสามารถขายสินค้านั้นได้แล้วหรือเรียกว่า การขายฝาก ซึ่งถ้าผู้ซื้อเอาสินค้าไปแล้วและยังขายต่อไม่ได้ ก็ยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ขาย
    4. Documents Agent Payment ( D/P ) เป็นการจ่ายเงินก่อนนำเอกสารไปออกสินค้า วิธีนี้ผู้ขายจะส่งเอกสารที่ใช้ในการออกสินค้าไปให้แก่ธนาคารในประเทศของผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อมาจ่ายเงินค่าสินค้าที่ธนาคารแล้ว จึงสามารถเอาเอกสารนั้นไปออกสินค้า ซึ่งมีการจ่ายเงินทันที หรือภายหลัง
    5. Documents Against Acceptance เป็นการจ่ายเงินโดยผู้ซื้อรับรองตั๋วแลกเงิน แล้วนำเอกสารไปออกสินค้า วิธีนี้คล้ายกับวิธี D/P คือเอกสารทั้งหมดจะส่งให้แก่ธนาคารในประเทศของผู้ซื้อ แต่ผู้ซื้อรับรองตั๋วแลกเงินแล้วนำเอกสารไปออกสินค้าได้เลย โดยยังไม่ต้องจ่ายเงินและก็อาจจะสามารถไม่จ่ายเงินภายหลังก็ได้
    6. Letter of Credit ( L/C ) วิธีนี้เป็นวิธีที่ดี ไม่มีการเสี่ยงทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยเมื่อมีการตกลงซื้อขายกันแล้ว ผู้ซื้อจะเปิด L/C นี้ โดนธนาคารของผู้ซื้อมายังผู้ขายโดยผ่านธนาคารของผู้ขาย โดยจะระบุเงื่อนไขต่างๆใน L/C นั้น และเมื่อผู้ขายได้จัดส่งสินค้าถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็สามารถนำเอกสารในการส่งออกไปขึ้นเงินกับธนาคารของผู้ขายได้
 http://courseware.payap.ac.th/docu/mg109/chapter6.htm

ไม่มีความคิดเห็น: