ประวัติSCG
• ในปีพุทธศักราช 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้ง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ขึ้น ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยผลิตปูนซีเมนต์ใช้เอง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ และเพื่อจัดสรรการใช้ทรัพยากรภายในประเทศอย่างคุ้มค่า
• บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ได้มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องตลอดมา ตามสถานการณ์ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จนเป็น “เครือซิเมนต์ไทย”(SCG) กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมที่มีประวัติยาวนานที่สุด และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
• ในปัจจุบัน บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ภายใต้ชื่อ "บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)" และได้ขยายขอบข่ายธุรกิจและเติบโตอย่างมั่นคงเป็น "เครือซิเมนต์ไทย หรือ SCG" เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหาร การควบคุมนโยบาย และงานในด้านต่างๆ
เครือซีเมนต์ไทย หรือ SCG
ปัจจุบัน SCG มีบริษัทสำคัญกว่า 100 บริษัท มีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 28,000 คน ผลิตสินค้ากว่า 64,000 รายการ เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก แต่เดิม SCG ดำเนินธุรกิจอยู่ในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม แต่หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 SCG ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารและการดำเนินธุรกิจขนานใหญ่ จนกระทั่งในปัจจุบัน SCG คงเหลือไว้ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่สำคัญ 6 กลุ่ม ได้แก่ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ปิโตรเคมี กระดาษและบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจจัดจำหน่าย และธุรกิจการลงทุน
กลุ่มธุรกิจซีเมนต์ หรือ SCG Cement
ธุรกิจซีเมนต์ถือเป็นธุรกิจแรกของ SCG เกิดขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ในปี พ.ศ. 2456 และถือเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกของประเทศไทย แรกเริ่มมีผลิตภัณฑ์ คือ ปูนตราช้าง ปูนตราเสือและ ปูนตราเอราวัณ(ในอดีต) เป็นหลัก ในปัจจุบัน SCG Cement ได้มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องประกอบกับการวิจัยและพัฒนาทำให้มีผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ท้องตลาดอีกหลากหลาย อาทิเช่น ปูนซีเมนต์คอนกรีตผสมเสร็จ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ขาว และวัสดุทนไฟ รวมทั้งให้บริการด้านเทคนิคและการติดตั้งโรงงานแก่ลูกค้าทั้งในและนอก SCG โดยมีบริษัทหลักคือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด และมีธุรกิจปูนซีเมนต์ในประเทศกัมพูชา K-Cement
กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง หรือ SCG Building Materials
SCG เริ่มเข้าสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2481 นับเป็นธุรกิจที่สองของ SCG โดยเริ่มจากการผลิตกระเบื้องมุงหลังคา ปัจจุบันธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้างมีการผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และสินค้าตกแต่งหลากหลายประเภท ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์หลังคา กระเบื้องเซรามิก สุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ บล็อกปูถนน ฉนวนกันความร้อน
กลุ่มธุรกิจจัดจำหน่าย หรือ SCG Distribution
SCG เริ่มเข้าสู่ธุรกิจจัดจำหน่าย ในปี พ.ศ. 2505 ปัจจุบันธุรกิจจัดจำหน่าย ดำเนินธุรกิจการค้าภายในประเทศผ่านผู้แทนจำหน่าย การค้าระหว่างประเทศ รวมทั้ง บริการด้านการขนส่ง กระจายสินค้า และคลังสินค้า ได้พัฒนาช่องทางการค้าปลีก และมีธุรกิจนำเข้า แบะส่งออกสินค้าในทุกทวีปทั่วโลกผ่าน บริษัท เอสซีจี ค้าสากล จำกัด หรือ SCG Trading
กลุ่มธุรกิจกระดาษ หรือ SCG Paper
SCG เข้าสู่ธุรกิจกระดาษ ในปี พ.ศ. 2519 ปัจจุบันธุรกิจกระดาษมีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ประกอบด้วย เยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษอุตสาหกรรม และบรรจุภัณฑ์
กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี หรือ SCG Chemicals
SCG เข้าสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบัน ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ผลิตและจำหน่าย เคมีภัณฑ์ครบวงจร ตั้งแต่ขั้นต้น ได้แก่ โอเลฟินส์ ขั้นกลาง ได้แก่ สไตรีนโมโนเมอร์ พีทีเอ และเอ็มเอ็มเอ และขั้นปลาย ได้แก่เม็ดพลาสติกหลักทั้ง4 ประเภท ได้แก่ โพลิเอททีลีน โพลิโพรไพลีน โพลิไวนิลคลอไรด์ และโพลิสไตรีน โดยมีบริษัทหลักคือ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด
ธุรกิจการลงทุน หรือ SCG Investment
บริษัทซิเมนต์ไทย โฮลดิ้ง ดูแลด้านการลงทุนในกิจการต่างๆ ของ SCG ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้เป็น บริษัทร่วมทุนกับบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ อาทิ Kubota, Yamato Kogyo, Aisin Takaoka Group, Nippon Steel, Toyota Motor, Michelin, Hayes Lemmerz International เป็นต้น นอกจากนี้ยังดูแลธุรกิจที่ดิน อุตสาหกรรมร่วมกับ Hemaraj Development
วิสัยทัศน์
• คนของเรา... รวมพลังสร้างอนาคต
“วิสัยทัศน์ของเครือซิเมนต์ไทย (SCG) คือ ภายในปี พ.ศ. 2558 SCG จะเป็นองค์กรที่ได้รับการยกย่องในฐานะ
เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่น่าร่วมงานด้วย และเป็นแบบอย่างด้านบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่น่าร่วมงานด้วย และเป็นแบบอย่างด้านบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การบริหารงาน
*การสรรหาบุคคลในเชิงรุกเพื่อให้ได้ “คนเก่ง” - “คนดี” มาร่วมงาน
เอสซีจี ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากตระหนักอยู่เสมอว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เริ่มตั้งแต่การสรรหาผู้ที่เป็นคนเก่งและดีเข้ามาร่วมงาน โดยจัดโครงการ “Drawing Your Career with SCG Career Camp” เพื่อจูงใจผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทยให้มาทำงานกับบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นการสรรหาบุคลากรในเชิงรุก
*วิธีพัฒนาบุคลากรทั้งแบบให้ทุนการศึกษา และอบรม
*วิธีพัฒนาบุคลากรทั้งแบบให้ทุนการศึกษา และอบรม
การพัฒนาบุคลากรของเอสซีจีจะดำเนินการโดยการให้ทุนการศึกษาและการอบรม โดยการอบรมนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Business Knowledge และ Leadership Skills ซึ่งทางเอสซีจีได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 0.19 ของรายได้ของบริษัทในปี 2550
*4 หลักการสำคัญในการจัดการ เพื่อสร้างบทบาทการเป็นผู้นำ
ทางเอสซีจีมีนโยบายพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกลวิธีให้บุคลากรอยู่กับองค์กร มีการดำเนินการดังนี้
ประการแรก ถือเป็นการลงทุนในระยะยาว เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ
ประการที่สอง เพื่อพัฒนาพนักงานทุกวิชาชีพ ทุกระดับและทุกคน ประการที่สาม พัฒนาอย่างเพียงพอต่อเนื่อง และสอดคล้องกับ competency ของพนักงาน
ประการที่สี่ ส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้ยังมีการสร้างระบบประเมินพฤติกรรมให้กับผู้นำ เพื่อให้ผู้นำได้รับข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากบุคคลรอบด้านทั้งผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกัน โดยผ่านเครื่องมือต่างๆเช่น ไอ-บอร์ด ระบบการประเมิน 360 องศา เป็นต้น
แนวทางในการดำเนินธุรกิจ
แนวทางในการดำเนินธุรกิจ
• ตั้งมั่นในความเป็นธรรม
• ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ SCG ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้สินค้า ผู้ถือหุ้น หุ้นส่วนธุรกิจ ผู้ที่ดำเนินธุรกิจด้วย หรือพนักงาน จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ขณะประกอบธุรกิจ หรือทำงานร่วมกับ SCG
• มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ
• มุ่งกระทำการทุกอย่าง ด้วยความตั้งใจให้เกิดผลในทางที่ดีกว่าเสมอ โดยมุ่งมั่นที่จะประกอบธุรกิจอย่างดีเยี่ยม เต็มความสามารถ ขณะเดียวกันก็พยายามหาแนวทาง การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศอยู่ตลอดเวลา และอย่างต่อเนื่อง
• เชื่อมั่นในคุณค่าของคน
• ให้ความสำคัญต่อ คุณค่าของพนักงาน และถือว่าเขาเหล่านั้นคือสมบัติที่มีค่าที่สุดพยายามคัดสรรบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถ และมีคุณธรรมเข้ามาร่วมงาน ให้การฝึกฝน พัฒนา และดูแลอย่างดี ด้วยสวัสดิการ และผลตอบแทนตามสมควร
• ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม
• ตั้งเจตนารมณ์ไว้ว่า จะดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบที่พึงมีต่อ ประเทศชาติและสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญจะประพฤติตนเป็นพลเมืองดีทำประโยชน์ให้แก่สังคม และทุกชุมชนที่ SCG ดำเนินธุรกิจอยู่
แนวทางในการดำเนินธุรกิจ
• แนวทางในการดำเนินธุรกิจของ SCG นั้นประกอบด้วย 4 สิ่ง คือ "ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม" ซึ่งยึดถือเป็นแนวปฏิบัติกของพนักงานทุกคนไล่มาตั้งแต่ระดับคณะจัดการ จนกระทั่งถึงพนักงานทุกระดับ
กลุ่มธุรกิจของSCG
• กลุ่มธุรกิจซีเมนต์ หรือ SCG Cement
• กลุ่มธุรกิจจัดจำหน่าย หรือ SCG Distribution
• กลุ่มธุรกิจกระดาษ หรือ SCG Paper
• กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี หรือ SCG Chemicals
• ธุรกิจการลงทุน หรือ SCG Investment
• กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง หรือ SCG Building Materials
การบริการลูกค้า
CRM ของ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG
เป็นบริษัทที่บริการลูกค้าได้เป็นอย่างดีโดยที่ให้ลูกค้าอยู่ในบ้านโดยทางบริษัทจะเป็นคนไปหาท่านเอง คือ ถ้าลูกค้าคอตกรีตผสมเสร็จ บริษัทส่งรถ CPAC ไปถึงบ้านของลูกค้าพร้อมเทปูนคอตกรีตผสมเสร็จ ให้เสร็จเรียบร้อยโดยที่ลูกค้าไม่ต้องลงมือทำด้วยตัวเอง และ SCG ได้ร่วมมือกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB สร้างนวัตกรรม ด้านการบริการขึ้น สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ในการสั่งซื้อสินค้า การส่งของ และการชำระเงินในรูปแบบใหม่ ในชื่อของ CPAC DIRECT โดยที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อคอตกรีตผสมเสร็จได้ทางเว็บไซต์ แล้วส่งคอตกรีตผสมเสร็จภายในเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้น ฝ่ายบัญชีของ SCG จะทำรายการส่งแจ้งหนี้ผ่านระบบ Internet Banking ของ SCB และลูกค้าสามารถเข้าไปตรวจสอบรายการแจ้งหนี้ และใบรับคอตกรีต เมื่อลูกค้าทำการอนุมัติการชำระเงินผ่านระระบบแล้ว SCB จะทำการโอนเงินจากบัญชีลูกค้าไปยังบัญชีของ SCGพร้อมทั้งแจ้งชำระเงินไปยังลูกค้าและ SCG ในทันที จากที่กล่าวมานี่เป็นระบบที่บริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในการรับบริการ และ มีความปลอดภัยอย่างยิ่งในเรื่องของการชำระเงิน
1.Non-Critical(transaction)
วัสดุเครื่องใช้สำนักงานต่างๆ เช่น
-ปากกา ดินสอ สมุดบันทึก-แม็กซ์เย็บกระดาษ เพราะ พวกวัสดุเครื่องใช้สำนักงานต่างที่หาซื้อได้ง่ายทั่วไป ไม่ส่งผลทำให้ตัวผลิตภัณฑ์มีความเสี่ยงที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์หรือตัวปูนใช้งานได้ดีหรือไม่ดี คือเป็นสินค้าที่มีมิติด้านราคาต่ำ-ความเสี่ยงสูง เป็นสินค้าทั่วไปสามารถจัดหาซื้อได้ง่าย ซับพลายเออร์จำนวนมาก สามารถเลือกซื้อในราคาที่ต่ำได้
2.Leverage
-รถบรรทุก (ขนปูนพง)
เพราะเราจะใช้รถ10ล้อหรือ6ล้อในการขนปูน ก็ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงหรือผลเสียต่อตัวผลิตภัณฑ์หรือตัวปูนแต่อย่างใดคือเป็นสินค้าที่มีมิติด้านราคาสูง-ความเสี่ยงต่ำ เป็นสินค้าโภคภัณฑ์โดยทั่วไปแต่ราคาแพง ซับพลายเออร์มีจำนวนมากสามารถเลือกซื้อสินค้าที่ทำให้ลดต้นทุนรวมได้3.Bottle Distinctive
-ถุงปูน
เพราะถุงปูนมีราคาต่ำแต่ส่งผลโดยตรงกับตัวผลิตภัณฑ์หรือพงปูนทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้ปูนไม่ได้คุณภาพเมื่อนำมาใช้งาน อาจเกิดจากถุงปูนไม่ได้ประสิทธิภาพ เป็นสินค้าที่มีราคาต่ำ-ความเสี่ยงสูงเป็นสินค้าชิ้นส่วนสำคัญ ซัพพลายเออร์น้อยราย4.Strategic
-เตาบดปูน
-เตาเผาปูนเพราะเตาบดและเตาเผาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำปูนผง มีราคาสูงและความเสี่ยงสูงมากถ้าเตาไม่ดีหรือคุณภาพไม่ดีตัวปูนที่ออกมาก็จะไม่ดีด้วย เป็นสินค้าที่มีราคาสูง-ความเสี่ยงสูงเป็นสินค้าส่วนยุทธศาสตร์วัพพลายเออร์น้อยรายหรือมีเจ้าของคนเดียว
2.การสร้างความสัมพันธ์ในห่วงโซ่
ซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ทปรับกลยุทธ์ใหม่ ลงทุน 200 ล้านบาท สร้างระบบ CRM (Customer Relationship Management) พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อเข้าถึงและตอบสนองตรงตามความต้องการของลูกค้าตั้งแต่ระดับคู่ค้าจนถึงผู้ใช้สินค้า ซึ่งถือเป็นเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายรายแรกๆ ของโลก ที่สามารถนำระบบนี้มาใช้งานได้อย่างจริงจัง โดมีเป้าหมายผลักดันยอดขายให้ถึง 100,000 ล้านบาท ภายใน 6 ปี
นายกฤช กุลเนตุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิเมนต์ไทยการตลาด จำกัด ในธุรกิจจัดจำหน่าย เครือซิเมนต์ไทย (SCG) เปิดเผยถึงที่มากลยุทธ์ใหม่ว่า สภาพการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านลูกค้าและด้านการตลาด ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์และเสนอขายสินค้าให้กับผู้แทนจำหน่ายมาช่วยบริหารความสัมพันธ์ในระดับลงลึกถึงกลุ่มลูกค้าปลายทาง (End User) ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเจ้าของบ้าน ช่าง หรือผู้รับเหมา
นายกฤช อธิบายถึงระบบ CRM แบบใหม่ว่า บริษัทฯ ได้ลงทุน 200 ล้านบาท สร้างนวัตกรรม CRM โดยจับมือ กับผู้แทนจำหน่าย ร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลของกลุ่มลูกค้าปลายทาง (End User) ซึ่งข้อมูลนี้ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุด (Strategic Asset) ที่จะนำมาใช้วางแผนการตลาดต่อไป บริษัทฯ ได้นำการบริหารงานรูปแบบใหม่ และเริ่มใช้งานอย่างเต็มรูปแบบมาตั้งแต่กลางปี 2005 ส่งผลให้ในปัจจุบัน ซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ทมีข้อมูลของลูกค้าในวงการวัสดุก่อสร้างอย่างครบถ้วนที่สุด ทั้งนี้ กลยุทธ์ CRM จะทำให้บริษัทฯ และผู้แทนจำหน่ายเข้าใจ สามารถเข้าถึง และตอบสนองตรงความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม จนถึงในระดับกลุ่มลูกค้าปลายทาง (End User) ได้อย่างเหมาะสมที่สุด
"ปัจจุบันเรามีฐานข้อมูลลูกค้าในระบบกว่า 50,000 ราย ซึ่งการจัดการ CRM ทำให้เราสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าและจัดกลยุทธ์การตลาด ไม่ว่าจะเป็น ด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ รวมถึงการทำกิจกรรมส่งเสริมการขายได้อย่างเหมาะสมตรงใจลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างถูกต้องและรวดร็วยิ่งขึ้น นอกจากนั้น รูปแบบ CRM มีการวางแผนที่ดีตั้งแต่ระดับผู้ผลิตจนถึงผู้ใช้สินค้าคนสุดท้าย ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรและเวลา ส่งผลให้ซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ทมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น ทำให้สามารถรักษาความเป็นผู้นำในตลาดร้านค้าวัสดุก่อสร้าง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดที่สูงขึ้น โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะผลักดันยอดขายผ่านเครือข่ายซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ทที่ครอบคลุมทั่วประเทศให้ได้ถึง 100,000 ล้านบาท ภายในเวลา 6 ปี นายกฤชกล่าวเพิ่มเติม"
ซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ท เป็นร้านค้าวัสดุก่อสร้างยุคใหม่ ที่จำหน่ายสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง และเคหะภัณฑ์คุณภาพจากเครือซิเมนต์ไทย (SCG) และแบรนด์ชั้นนำ ภายใต้แนวคิด "เพื่อน...ที่คุณวางใจ"
CEMENTHAI HOME MART
CEMENTHAI HOME MART เป็นร้านค้าวัสดุก่อสร้างยุคใหม่ซึ่งพัฒนามาจากร้านผู้แทนจำหน่ายของเครือซิเมนต์ไทย ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจมากขึ้นเรื่องการก่อสร้างบ้าน เพราะนอกจากจะนำเสนอวัสดุก่อสร้างคุณภาพจากเครือซิเมนต์ไทยแก่ลูกค้าแล้วร้าน CEMENTHAI HOME MART ยังเป็นแหล่งข้อมูล และเป็นศูนย์สินค้าวัสดุก่อสร้างของเครือซิเมนต์ที่ครบถ้วน ทันสมัย ลูกค้าซึ่งกำลังตัดสินใจเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างสามารถมาศึกษาข้อมูลได้
นอกจากนี้ CEMENTHAI HOME MART ยังมีช่องทางใหม่ๆ ที่ลูกค้าสามารถศึกษาหาข้อมูลเรื่องวัสดุก่อสร้างได้สะดวกขึ้น นอกเหนือจากการไปที่ร้าน ยกตัวอย่างเช่น Call Center 02-5862222 พร้อมตอบคำถามทุกคำถามเรื่องวัสดุก่อสร้าง , Website (www.cementhaihomemart.co.th) แหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างจากเครือซิเมนต์ไทย
ร้าน CEMENTHAI HOME MART กระจายอยู่ทั่วประเทศแล้ว 250 ร้าน แบ่งเป็น ร้าน CEMENTHAI HOME MART MAX จำนวน 50 ร้าน และร้าน CEMENTHAI HOME MART BUILDER จำนวน 200 ร้าน โดยมีพื้นที่ขายของร้าน CEMENTHAI HOME MART ทั่วประเทศรวมกันประมาณ 150,000 ตารางเมตร (ไม่รวมพื้นที่โกดังเก็บสินค้า)
ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ คาดว่าเมื่อสิ้นปี 2549 เราจะมีร้าน CEMENTHAI HOME MART ไม่ต่ำกว่า 320ร้าน ทั่วประเทศ แบ่งเป็นร้าน CEMENTHAI HOME MART MAX จำนวน 75 ร้าน และร้าน CEMENTHAI HOME MART BUILDER จำนวน 245 ร้าน
ร้าน CEMENTHAI HOME MART MAX
เป็นร้าน CEMENTHAI HOME MART มีพื้นที่ขายระหว่าง 800-2,500 ตารางเมตร ขายวัสดุก่อสร้างคุณภาพจากเครือซิเมนต์ไทย นอกจากนี้ ภายในร้านยังมีสินค้าเกี่ยวกับการซ่อมแซมและปรับปรุงบ้านให้ลูกค้าได้เลือกซื้ออย่างครบครัน อีกด้วย
ทั้งนี้ สินค้า และบริการที่นำเสนออยู่ภายในร้านสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
1. กลุ่มสินค้าก่อสร้าง เช่น ปูนซิเมนต์, เหล็ก, ทราย, อิฐ, หลังคา, บล็อกปูถนน
2. กลุ่มสินค้าตกแต่ง เช่น เซรามิค, สุขภัณฑ์
3. กลุ่มสินค้าเคหะภัณฑ์ เช่น หลอดไฟ, ก๊อกน้ำ, ลูกบิดประตู, เครื่องมือช่าง, สีทาบ้าน
4. กลุ่มบริการ เพื่อแสดงให้เห็นว่า CEMENTHAI HOME MART เป็น Expert Solutions in Home Building ซึ่งประกอบด้วย
4.1 บริการให้คำปรึกษาเรื่องวัสดุก่อสร้าง และการแก้ปัญหาเรื่องบ้าน โดยเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์
4.2 บริการติดตั้ง/ ซ่อมแซมอุปกรณ์ภายในบ้าน เช่น สุขภัณฑ์, ปั๊มน้ำ,เครื่องทำน้ำอุ่น โดยช่างโฮมมาร์ทที่ผ่านการอบรมมาจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน* ในขณะนี้ เรามีช่างโฮมมาร์ทที่ผ่านการบอรมแล้วจำนวน 16 รุ่น
4.3 บริการแนะนำช่าง ผู้รับเหมามืออาชีพ
4.4 บางร้านจะมีบริการออกแบบห้องน้ำ ห้องครัว หรือบล็อกปูถนน โดยเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญ ทำให้ท่านสามารถมั่นใจได้ในความสวยงาม และไม่ต้องสั่งจำนวนสินค้าเกินจริง
ร้าน CEMENTHAI HOME MART BUILDER
เป็นร้าน CEMENTHAI HOME MART มีพื้นที่ขายระหว่าง 200-800 ตารางเมตร ขายวัสดุก่อสร้างคุณภาพจากเครือซิเมนต์ไทยเป็นหลัก ส่วนสินค้าเกี่ยวกับการซ่อมแซม และปรับปรุงบ้านจะมีขายเช่นกัน แต่ในสัดส่วนที่ลดลง
ประวัติผู้บริหาร กฤช กุลเนตุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิเมนต์ไทยการตลาด จำกัด
กฤช กุลเนตุ ปัจจุบันอายุ 51 ปี เป็นหนึ่งในทีมผู้บริหารที่ร่วมบุกเบิก และสร้างความสำเร็จให้กับ บริษัท ซิเมนต์ไทยการตลาด จำกัด ตั้งแต่ปี 2542 เคยดำรงตำแหน่งบริหารที่สำคัญๆ อาทิ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดซิเมนต์ บริษัทปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด และผู้อำนวยการฝ่ายผู้แทนจำหน่าย บริษัท ซิเมนต์ไทยการตลาด จำกัด
กฤช เป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญด้านการตลาด และด้านบริหารธุรกิจจัดจำหน่าย พร้อมนำแนวคิดเรื่องนวัตกรรมของเครือซิเมนต์ไทย (SCG) มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์กับผู้แทนจำหน่าย
3.Transpation การขนส่ง
บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จากัด มียอดขายเพิ่มมากขึ้นทุกปี ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ หมื่นล้านบาท ซึ่งปีนี้ ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 14,000 ล้านบาท (เฉพาะมูลค่าการขนส่ง) จานวนยอดการขนส่งประมาณ 30 ล้านตันต่อปี จานวนรอบการขนส่งมากกว่าล้านรอบต่อปี ลูกค้ามีทั้งกลุ่มภายในเครือ SCG และลูกค้าภายนอก บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จากัด มีผู้ให้บริการขนส่งประมาณ 450 ราย ให้บริการกระจายสินค้าทั่วประเทศ รวมทั้งให้บริการขนส่งสินค้าในประเทศกัมพูชา และเวียดนาม ปัจจุบันมี รถบรรทุก 7,000 คัน, เรือในท้องน้า 200 ลา และรถไฟที่เป็นตู้คอนเทนเนอร์ สาหรับบรรทุกปูนซีเมนต์ ประมาณ 140 ตู้
บริษัทได้นาระบบเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการงานด้านการขนส่ง (Logistics) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดาเนินงานมากที่สุด ส่งเสริมให้ SCG Logistics ได้เปรียบคู่แข่ง สร้างจุดแข็ง สร้างความพึงพอใจจากบริการที่ดีให้กับลูกค้า ทาให้มียอดขนส่งเพิ่มขึ้น รวมทั้งแบ่งเบาภาระงานบางส่วนให้กับผู้ปฏิบัติงาน และการสร้างระบบของบริษัทให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
SCG Logistics ได้นาระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ของ SAP มาใช้ในการบริหารจัดการ และต่อมาได้นาระบบ Transportation Management System (TMS) มาใช้ เพื่อช่วยในการจัดการระบบสาหรับการจัดเที่ยวรถขนส่งสินค้า และเป็นการเตรียมพร้อมสาหรับยอดขายที่เพิ่มขึ้นและการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต หลังจากนั้นบริษัทได้พัฒนาระบบอื่นๆ เสริมเพิ่มมากขึ้น โดยบริษัทมีวิสัยทัศน์ว่า เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี สามารถเข้ามาช่วยในการพัฒนาระบบที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นทางบริษัทจึงเริ่มศึกษาเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี และมีการทดสอบจนมั่นใจในระบบ แล้วจึงเริ่มใช้งานจริง เพื่อลดปัญหาในเรื่องความผิดพลาดในการทางาน (Human Error) ลดปริมาณการใช้กระดาษในงานเอกสาร ช่วยในการแสดงสถานะของงานในแต่ละกระบวนการแบบ Real-time และมีการทางานที่เป็นอัตโนมัติมากขึ้น
การนาระบบอาร์เอฟไอดีเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการระบบด้านการขนส่งของบริษัท ส่งผลให้ บริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิต ลดเวลาการทางานในแต่ละจุดปฎิบัติงาน ลดเวลาในการรวบรวมข้อมูลในแต่ละวัน ลดเวลาการขนส่งต่อรอบ สามารถตรวจเช็คเวลาที่รถเข้าออกในแต่ละจุดปฎิบัติงานได้แบบ Real Time ตรวจสอบจานวนรอบการขนส่งได้ตลอดเวลา ลดปริมาณกระดาษที่ใช้ในการจดบันทึกข้อมูล ลดความผิดพลาดในการเก็บบันทึกข้อมูล และระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังสามารถนาไปประยุกต์ เพื่อพัฒนาระบบของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการทางานอื่นๆ ได้อีกด้วย ซึ่ง SCG Logistics ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ โดยแบ่งเป็น 3 เฟส คือ
· เฟสที่ 1 กระบวนการการขนส่งลิกไนต์
· เฟสที่ 2 กระบวนการการขนส่งถ่านหิน
· เฟสที่ 3 ในปั๊มเติมแก็ส NGV ของกลุ่มบริษัทในเครือ SCG
ในอนาคตนี้ยังมีแนวโน้มว่าจะขยายเพิ่มไปยังกระบวนการอื่น เพื่อให้มีการบริหารจัดการการขนส่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด โดยเอกสารฉบับนี้จะขออธิบายถึงการบริหารจัดการการขนส่งลิกไนต์ ของ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จากัด เท่านั้น
1. การนาเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการรถบรรทุกขนส่งสินค้า
1.1 ขั้นตอนการดาเนินโครงการโดยสังเขป
ขั้นตอนการดาเนินงานในการพัฒนาระบบด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ของบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จากัด เริ่มจากการพบปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ อาทิเช่น รถต้องรอคิวรับลิกไนต์จากเหมืองต้นทางเป็นเวลานานๆ เนื่องจากไม่ทราบสถานะ และจานวนของรถในเหมือง ทาให้รถต้องรอคิวในการรับ/ส่งสินค้าเป็นเวลานาน 50% ของรถบรรทุกและต้องรอคิวรับสินค้าที่ต้นทางมากกว่า 12 ชั่วโมง ในบางกรณีต้องรอถึง 2 วัน ทาให้ระยะเวลาในการขนส่งเฉลี่ยต่อรอบสูงถึง 6 วัน
ปัญหาความยุ่งยากในการเก็บข้อมูล ไม่มีระบบในการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ทาให้ไม่สามารถวางแผนการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลล่าช้าไม่ถูกต้อง และไม่สามารถติดตามสถานะของรถแต่ละคันได้ทันตามความต้องการ
ความไม่แน่นอนในความต้องการสินค้าของโรงงานปลายทางที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง จึงมีการรวบรวมปัญหาและสารวจความต้องการของผู้ใช้งานและร่วมกันระดมสมองเพื่อหาแนวทางแก้ไขและวิธีการป้องกัน หลังจากได้ทางเลือก จึงเริ่มศึกษาเปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสีย ข้อจากัดต่างๆ ของแต่ละทางเลือก แล้วจึงคัดสรรผู้พัฒนาติดตั้งระบบ และมาร่วมกันศึกษาเพิ่มเติม ทาการสารวจออกแบบระบบใหม่ โดยมีการกาหนดเป้าหมายการทางาน งบประมาณและระยะเวลาในการดาเนินโครงการ เมื่อวางแผนทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จึงเริ่มทดสอบ ติดตั้งและปรับแต่งแก้ไขระบบ จนได้ระบบที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ดังนั้น จึงมีการสรุปโครงการและเริ่มติดตั้งใช้งานจริงจนเป็นผลสาเร็จ
ข้อจากัดของกระบวนการทางานเดิม
บริษัทไม่สามารถตรวจสอบสถานะของรถขนส่ง เวลาที่จะถึงสถานีปลายทาง ไม่สามารถทราบยอดจานวนเที่ยวและน้าหนักของสินค้าที่ขนส่ง จานวนรถขนส่งที่อยู่ที่เหมือง ได้แน่ชัดทันทีแบบ Real-Time ทาให้บริษัทไม่สามารถวางแผนการขนส่ง เกิดการสูญเสียในการรอคิวรับ/ส่งสินค้าเป็นเวลานานๆ จะทาให้บริษัทเกิดการเสียโอกาสในการขนส่ง และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากรถขนส่งเหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เกิดความล่าช้าในกระบวนการทางาน เช่น เนื่องจากเอกสารจะเดินทางไปพร้อมกับรถขนส่งตั้งแต่เหมืองต้นทางจนสิ้นสุดถึงโรงงานปลายทาง หลังจากนั้น เอกสารจึงจะถูกส่งมาที่บริษัท ซึ่งต่อรอบการขนส่งต้องใช้เวลา 6 วัน จึงจะสามารถดาเนินงานและออกเอกสารด้านบัญชี เช่นใบแจ้งหนี้ ใบกากับภาษี การจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานขับรถ เป็นต้น
เก็บข้อมูลแบบ Manual โดยการบันทึกข้อมูลเข้าระบบของพนักงาน 1 คน ต้องใช้เวลาอย่างน้อยถึง 2 ชั่วโมง และยังอาจเกิดทาให้เกิดความผิดพลาดของการเก็บบันทึกข้อมูล
เนื่องจากคีย์ข้อมูลผิด และยังต้องเพิ่มจานวนพนักงานที่ทาหน้าที่ในการตรวจเช็คเอกสารในแต่ละจุดปฎิบัติงาน เช่น จุดชั่งน้าหนักก่อนส่งลิกไนต์ออกจากเหมือง และจุดชั่งน้าหนักเข้าถึงปลายทาง เป็นต้น
ไม่สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลในระบบระหว่างบริษัทที่เป็นคู่ค้า (Partner) กันได้ เนื่องจากข้อมูลระหว่างการขนส่งไม่มีการเชื่อมต่อ การปฏิบัติงานในแบบเดิมไม่สามารถรองรับความผันผวนของความต้องการของลูกค้า (Demand) ที่เกิดจากการโยกย้ายเปลี่ยนจุดหมายของรถขนส่งในบางครั้ง เช่น โรงงานปลายทางบางแห่งไม่สามารถรับสินค้าได้ ก็ต้องมีการสับเปลี่ยนให้รถไปส่งสินค้าที่โรงงานปลายทางอื่นแทน
1.3 กระบวนการหลังนาระบบอาร์เอฟไอดีและซอฟต์แวร์การจัดการคลังสินค้ามาใช้งาน
ภายหลังจากที่ SCG Logistics ได้พัฒนาระบบโดยนาเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้งานในการจัดการการขนส่ง ผ่านทางระบบ Web-Based (TMS) ได้ออกแบบระบบให้มีความสะดวก รวดเร็ว สามารถให้ข้อมูลได้แบบ Real time และยังมีการปรับระบบโดยเพิ่ม จุดตรวจเช็ค (Check point) ระหว่างเส้นทาง เพื่อให้ทราบสถานะ และสามารถปรับเปลี่ยนสถานีปลายทางได้หากเกิดเหตุจาเป็น
กระบวนการทางานของการรับลิกไนต์ที่เหมือง ด้วยระบบอาร์เอฟไอดี
คำอธิบายเพิ่มเติม
SCG Logistics กาหนดแผนงานการเดินรถขนส่งสินค้าและส่งไปยังบริษัทคู่ค้าตั้งแต่ต้นทางไปยังสถานีปลายทาง ซึ่งทุกบริษัทจะทราบข้อมูลล่วงหน้าของการขนส่ง ผ่านทางระบบ Web-Based (TMS)
จากนั้นรถบรรทุกจะวิ่งมารับสินค้าจากเหมืองตามวันและเวลาที่กาหนด ที่ทางเข้า-ออกเหมืองจะมีเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี ติดตั้งอยู่ เพื่อเป็นการเช็ครถก่อนเข้าเหมือง และทราบว่ารถทะเบียนอะไร จากที่ไหน รวมถึงเวลา เข้า-ออก ในบริเวณเหมือง หลังจากนั้น ข้อมูลจะถูกส่งไปที่ server ส่วนกลาง เพื่อนาไปแสดงผลบน Web ทาให้ทราบถึงสถานะของรถบรรทุกแต่ละคัน ว่าเข้าหรือออกจากเหมือง และยังสามารถทราบถึงระยะเวลาการอยู่ในเหมืองของรถแต่ละคันอีกด้วย มีการติดตั้ง เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี ที่ทางเข้า-ออก บริเวณจุดรับแร่ เพื่อให้สามารถตรวจสอบความเร็วของรถที่ขับภายในเหมืองว่า ใช้ความเร็วตามข้อกาหนดหรือไม่ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายความปลอดภัยของบริษัท
เมื่อรถบรรทุกแต่ละคันเข้ามารับสินค้า เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีที่ติดตั้งที่เครื่องชั่งจะทาการแสดงรายละเอียดของรถ และสินค้าที่ต้องขนโดยอัตโนมัติ เจ้าหน้าที่ที่เหมืองเพียงกดยืนยันการมารับสินค้า ระบบก็จะทาการบันทึกข้อมูลการรับสินค้าพร้อมทั้งการชั่งน้าหนักโดยอัตโนมัติ
เมื่อรถบรรทุกเข้าไปโหลดสินค้าขึ้นรถเรียบร้อยแล้ว พนักงานจะขับรถมาชั่งน้าหนักอีกครั้ง ระบบจะทาการคานวณน้าหนักสินค้า และส่งข้อมูลดังกล่าวเข้าไปสู่ส่วนกลางทันที เมื่อรถออกจากบริเวณเหมือง เครื่องอ่านที่ทางออกก็จะทาการบันทึกเวลาการออกของรถคันดังกล่าวไว
การออกแบบระบบโดยประยุกต์ทฤษฎี Postponement เพื่อให้มีความยืดหยุ่น โดยการกาหนดจุด Check Point ทาให้สามารถเปลี่ยนโรงงานปลายทางได้ โดยระบบจะแจ้งยืนยันสถานที่ปลายทางเมื่อรถถึงจุดดังกล่าว จากนั้น พนักงานจะขับรถต่อไปที่จุดตรวจสอบ (Check point) เพื่อตรวจเช็คระยะเวลาการเดินรถ น้าหนัก และทาการยืนยัน สถานที่ส่งสินค้า หรือสถานีปลายทางให้พนักงานขับรถ แล้วรถจึงเดินทางต่อไปเพื่อส่งสินค้า ซึ่งหากมีกรณีที่ต้องเปลี่ยนแปลงสถานีปลายทางในระหว่างการเดินทางจากเหมืองมาจุด Check point บริษัท SCG Logistics สามารถแก้ไขข้อมูลในระบบได้ทันที
กระบวนการทางานของการขนส่งลิกไนต์ ที่โรงงานปลายทางด้วยระบบอาร์เอฟไอดี
เมื่อพนักงานขับรถรับทราบสถานีปลายทางที่แน่นอนแล้ว รถบรรทุกพร้อมกับสินค้าจะเดินทางไปยังสถานีปลายทางที่กาหนด โดยที่โรงงานปลายทางจะมีเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี ติดตั้งที่ทางเข้า เพื่อให้ระบบบันทึกข้อมูล วันและเวลาที่รถบรรทุกเข้ามาส่งสินค้าและจัดคิวในการโหลดสินค้าให้รถบรรทุกด้วย ทันทีที่รถมาถึงปลายทางที่กาหนด เวลาที่มาถึงก็จะถูกส่งไปที่ระบบส่วนกลาง เพื่อเป็นการยืนยันว่า การขนส่งดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ในกรณีที่รถขนส่งนาส่งสินค้าผิดสถานี ไม่เป็นไปตามที่กาหนด ระบบจะมีการแจ้งเตือนให้ทราบ เช่น ระบบกาหนดให้รถขนส่ง ไปส่งสินค้าที่โรงงาน A แต่ปรากฎว่า รถไปส่งสินค้าที่โรงงาน B ระบบจะมีสัญญาณแจ้งเตือนและโรงงานจะไม่สามารถรับสินค้าของรถคันดังกล่าวได้ เป็นต้น
เมื่อเจ้าหน้าที่ของโรงงานปลายทาง ทาการตรวจสอบและยืนยันการรับสินค้ากับระบบ โดยข้อมูลในทุกส่วน ทุกสถานี จะถูกส่งมาที่ บริษัท SCG Logistics เพื่อยืนยันการขนส่งและข้อมูลการขนส่งดังกล่าวก็จะถูกส่งไปที่ระบบบัญชีโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีการบันทึกข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่
2.2 เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี แบบ Active (RFID Reader/Interrogator)
เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี เป็นอุปกรณ์ที่สาคัญอีกอย่างที่ทาหน้าที่ในการเขียนและอ่านข้อมูลจากแผ่นป้ายอาร์เอฟไอดี โดยอาศัยการสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุ ในการทางานของเครื่องอ่าน เมื่อมีการอ่าน/เขียนข้อมูล จากแผ่นป้ายอาร์เอฟไอดีแล้ว ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ Server และแสดงผลที่คอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานีนั้นๆ โดยผ่านการเชื่อมต่อต่าง ๆ เช่น สายเคเบิ้ล หรือ ระบบ Wireless Network
บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นต์ จากัด ได้เลือกใช้และติดตั้งเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี ที่ประตูทางเข้า-ออก ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลของป้ายอาร์เอฟไอดี เมื่อมีการเคลื่อนที่เข้า-ออก ของรถบรรทุกในบริเวณเหมืองต้นทาง และติดตั้งเครื่องอ่านที่เครื่องชั่งน้าหนัก เพื่อทาการยืนยันการชั่งน้าหนัก พร้อมติดตั้งเครื่องอ่านที่สถานีรับจองคิวของโรงงานปลายทาง มีการสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านกับฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ผ่านสายเคเบิ้ล และมี Server ควบคุมการทางานของระบบอาร์เอฟไอดี ซึ่งถูกออกแบบและดูแลโดยบริษัท ไอเดนทิไฟ จากัด
ตาแหน่งเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีที่ติดตั้งที่สถานีรับจองคิวโรงงานปลายทาง
ด้วยระบบอาร์เอฟไอดีการทางานทั้งหมดตลอดทั้งห่วงโซอุปทาน จะเป็นไปแบบอัตโนมัติ ช่วยลดขั้นตอนการคีย์ข้อมูลแบบซ้าของพนักงานได้
นอกจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ระบบทั้งหมดเป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้นแล้ว ในระบบอาร์เอฟไอดี ของ SCG Logistics และคู่ค้า อาศัยการสื่อสารรับส่งข้อมูลกันระหว่างหน่วยงาน แบบ Real time เมื่อมีการสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูลกันระหว่างป้ายอาร์เอฟไอดี เครื่องอ่านและฐานข้อมูล แล้วมีการบันทึกข้อมูล ระบบจะทาการส่งข้อมูลไปยัง Server เพื่อให้ข้อมูลอัพเดทตามเวลาที่ทางานจริง และบริษัทคู่ค้าอื่นๆ สามารถเข้ามาดูข้อมูลบางส่วนได้โดยผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีทาหน้าที่หลัก คือ
ควบคุมและเชื่อมต่อกับระบบข้อมูลทั้งหมดในการบริหารจัดการการขนส่งด้วยอาร์เอฟไอดี
ตรวจสอบรหัสผ่านของผู้ที่จะเข้ามาดูข้อมูลบน Server โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงจะสามารถรับส่งข้อมูล หรือขอดูข้อมูลของบริษัทคู่ค้าอื่นได้
สามารถแสดงข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ทุกสถานีทั้งที่เหมืองต้นทางและการจัดคิวรถที่โรงงานปลายทางด้วย เพื่อให้ทราบสถานะรถ
การจัดเก็บข้อมูลของป้ายอาร์เอฟไอดี แบบ Real time ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ เช่น ชนิดของวัตถุดิบที่ขนส่ง สถานะของรถ ระยะเวลาการรอคอย ตาแหน่งของรถขนส่ง สถานีต้นทางและสถานีปลายทาง เป็นต้น
การทางานในทุกขั้นตอนของระบบจะถูกบันทึกข้อมูลทั้งการอ่าน สถานะ วัน เวลา ทะเบียนรถ ชื่อพนักงานขับรถ ชื่อบริษัทที่เป็นคู่ค้า และข้อมูลอื่นๆ ทั้งหมดจะถูกส่งมาเก็บไว้ที่ Server เพื่อให้ทุก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาดู หรือ อัพเดทข้อมูลได้ตลอดเวลา โดยในแต่ละหน่วยงานจะสามารถเข้ามาดูข้อมูลได้เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองเท่านั้น ซึ่งต้องมีรหัสผ่านที่ถูกต้อง (Authentication) นอกจากนั้น ข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถนามาเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนาไปวิเคราะห์หาช่วงของกระบวนการที่เกิดปัญหา และต้องเข้าไปจัดการแก้ไข เพื่อให้สามารถพัฒนาประสิทธิภาพในการทางานให้เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
สถาปัตยกรรมของระบบการจัดการขนส่งสินค้าของบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จากัด
จากการพัฒนาระบบ เพื่อใช้ในการจัดการด้านการขนส่ง (Logistics) ของ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จากัด ได้เริ่มจัดทาในกระบวนการ การขนส่งลิกไนต์แล้วประสบความสาเร็จ โดยเริ่มจากการไปรับลิกไนต์จากเหมืองที่จังหวัด ลาปาง ไปส่งที่ปลายทางจังหวัด สระบุรี ซึ่งมี 3 โรงงาน คือ โรงงานท่าหลวง แก่งคอยและโรงงานที่เขาวง มีการขนส่ง ประมาณ 130 – 150 เที่ยวต่อวัน หรือคิดเป็นปริมาณลิกไนต์ประมาณ 4,500 ตัน/วัน
จากโครงการพัฒนาติดตั้งระบบอาร์เอฟไอดีนี้ ส่งผลให้บริษัทได้รับการตอบรับที่ดีทั้งจาก ลูกค้าและคู่ค้า ซึ่งข้อมูลจากบริษัทคู่ค้าทั้งหมด สามารถเชื่อมโยงส่งข้อมูลถึงกันได้ง่าย รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยา มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ระยะเวลาต่อรอบในการขนส่งลดลง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive advantage) โดยมีระยะเวลาคืนทุน (Return on Investment: ROI) ของระบบอยู่ที่ 1 ปี 10 เดือน
รายการ | ระบบเดิม | ระบบใหม่ |
ระยะเวลาในการเดินรถ 1 รอบ | 6 วัน | 4 วัน |
จานวนรอบการวิ่งรถต่อเดือน | 4 รอบ | 6 รอบ |
อัตราส่วนรถที่รอคิวที่โรงงานปลายทางมากกว่า 3 ชั่วโมง | 54% | 29% |
อัตราส่วนรถที่รอคิวที่ต้นทางมากกว่า 12 ชั่วโมง | 50% | 10% |
เวลาในการบันทึกข้อมูลลงระบบ ต่อพนักงาน 1 คน | > 2 ชม. | ไม่มี |
การติดตาม (Monitor) สถานะรถบรรทุกแต่ละคัน | ไม่ได้ | ได้ |
บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จากัด ได้ตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีเข้ามาช่วยในการบริการจัดการด้านการขนส่ง โดยเลือกใช้ป้ายแท็กอาร์เอฟไอดี ชนิด Active ที่ความถี่ 2.45 GHz ซึ่งมีระยะในการอ่านได้ไกลถึง 10 เมตร ติดที่รถบรรทุก พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี ที่ทางเข้า-ออกของต้นทาง ปลายทางและในแต่ละสถานีทางาน เชื่อมต่อข้อมูลกับระบบ Transportation Management System (TMS) และ SAP ของบริษัท และสื่อสารส่งข้อมูลไปยัง Server การพัฒนาระบบด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี สามารถช่วยให้บริษัทสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทุกกระบวนการเข้าด้วยกันได้อย่าง Real time สามารถมองเห็นสถานะของรถขนส่งและกระบวนการได้อย่างรวดเร็ว สามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างบริษัทคู่ค้า ลดเวลาในการบันทึกข้อมูลลงระบบของพนักงานลง 2 ชั่วโมงต่อคน ลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลเข้าระบบ ลดเวลาในการรอคอยทั้งต้นทางที่เหมืองและที่โรงงานปลายทาง ส่งผลให้ลดเวลาการขนส่งต่อรอบ 33.3 % ทาให้พนักงานขับรถสามารถเดินรถจานวนรอบมากขึ้น จากเดิม 4 รอบต่อเดือน เป็น 6 รอบต่อเดือน และได้รับค่าตอบแทนมากขึ้นตามไปด้วยบริษัทยังสามารถลดปริมาณการใช้กระดาษที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน และยังสามารถทราบสถานะของรถบรรทุกแต่ละคัน ส่งผลให้สามารถวางแผนการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและ คู่ค้า มากขึ้น และมีระยะเวลาคืนทุน (ROI) อยู่ที่ประมาณ 1 ปี 10 เดือน ในการพัฒนาติดตั้งระบบใหม่ด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ทาง SCG Logistics เป็นผู้รับผิดชอบในการติดตั้งและจัดสรรงบประมาณในการทาโครงการทั้งหมด ผลประโยชน์ที่ได้ส่งผลให้ทั้งบริษัทและคู่ค้า ในแบบ Win-Win Situation
จากความสาเร็จ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จากัด มีการพัฒนาติดตั้งระบบอาร์เอฟไอดี เข้าสู่กระบวนการขนส่งสินค้าชนิดอื่นด้วย เช่น สินค้าถ่านหิน และยังนาอาร์เอฟไอดีไปประยุกต์ใช้ในการเติมแก๊ส NGV ของรถภายในเครือ SCG ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ จังหวัด สระบุรี ซึ่งใช้อาร์เอฟไอดี ช่วยในการควบคุมหัวจ่ายแก๊สและการเติมแก๊ส NGV เพิ่มความสะดวก สบาย ง่ายต่อทุกๆ กระบวนการ และยังสะดวกในการจัดการด้านบัญชีอีกด้วย
การประยุกต์เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีนั้น จะต้องพิจารณาขอบเขตและข้อจากัดของสถานที่ สภาวะแวดล้อม และควรจะมีการทดสอบอุปกรณ์เพื่อให้เกิดความมั่นใจก่อนติดตั้งในสถานที่จริง การออกแบบและพัฒนาติดตั้งระบบ ควรระบุถึงปัญหาที่ต้องการแก้ไข และออกแบบระบบโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างทุกฝ่าย เพื่อให้ระบบใหม่ที่จะพัฒนาขึ้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
4.Inventery สินค้าคงคลัง
1. ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของการบริหารวัสดุและสินค้าคงคลัง
ความสำาคญั ในการบริหารวสั ดุและสินค้าคงคลงั
เพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างมี
ประสทิ ธิภาพ
1. ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
2. ลดภาระในการเก็บรักษา
3. มีปรมิาณ stock เหมาะสมเพียงพอ
Key Concern Point : Inventory Management
โอกาสในการพฒันา
· แยกการสั่งซื้อทำให้ราคาแพงกว่าที่ควร และค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสูง
· จัด เก็บ Stock หลายแห่ง เกดิ ความซํ้าซ้อน, เสียพื้นที่และค่าใช้จ่าย, บุคลากร
· ขาดการควบคุมการเบกิ จ่าย
· เกิด ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็ น เช่น เงนิ ทุนจม, วสั ดุสูญหาย/เสียหาย, เสื่อมสภาพ
· ข้อมูลใน Stock ไม่สามารถใช้ในการบรหิ ารได้ เช่น Safety Stock (Min-Max) Usage, Non Moving/ Slow Moving …
2. แนวทางในการบริหาร ควบคุม และสอดคล้องกับ รายได้
ความหมายและประเภทของวสัดุคงคลัง (Inventory)
วัสดุคงคลัง(Inventory)
หมายถึง วัสดุหรือสินคลังต่างๆ ที่กิจการจัดเก็บเพื่อใช้ในการดำาเนินงานการบริหารวัสดุและสินค้าคงคลัง(Inventory Management)
การบริหารบริหารวัสดุและสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
1.วางแผน =-Demand เช่นแผนการใช้/ความต้องการ-Budget
2.จัดซื้อ=- สอบทานปริมาณคงเหลือ
- กำหนดจุดสั่งซื้อที่เหมาะสมทำให้เกิดการแข่งขันอย่างสมบูรณ์
-คุณภาพ/ทดสอบ
-แบ่งแยกหน้าที่:ผู้แจ้งสั่งซื้อ/ ผู้สั่งซื้อ/ ผู้รับของ
3.ตรวจรับ=
-ตรวจรับจริง
-ทดสอบ
- แยกบริเวณ
4.จัดเก็บ
- ปลอดภัย
5.ตรวจนับ
- เปรียบเทียบกับบัญชี
6.การจ่าย
- FIFO
- บันทึกบัญชี
7.บริหาร
- Min/Max Analysis
- Safety Stock
- Report (NonMove, Slowmove)
3. การบริหารคลังวสัดุและสินค้าของ SCG
Inventery สินค้าคงคลัง
วัตถุดิบ
สินค้าระหว่างผลิต
วัสดุซ่อมบำรุง
สินค้าสำเร็จรูป
วัตถุดิบ
ถ่านหิน หินอ่อน หินแกรนิต หินทราย หินกาบหรือหินชนวน หินปูน ชอล์ค มาร์ล
สินค้าสำเร็จรูป
ปูน
จัดการคลังสินค้า
คลังสินค้ามีกี่แห่ง แต่ละแห่งเก็บสินค้าแห่งเก็บสินค้าแบบไหน ภายในมีการบริหารอย่างไร
คลังสินค้า
5.การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
ตำแหน่งที่ตั้งโรงงานโตโยต้าและเส้นทางจัดส่งชิ้นส่วน
เนื่องจากระบบการผลิตแบบโตโยต้า (TPS) มุ่งให้งานเกิดการไหลต่อเนื่อง ทำให้การออกแบบเครือข่ายโลจิสติกส์ขาเข้าใช้ระบบดึงที่ตอบสนองตามความต้องการใช้งาน โดยเฉพาะการจัดส่งชิ้นงานตามรอบเวลากระบวนการหรือกำหนดการผลิต ทำให้ต้องจัดส่งของตรงตามกำหนดการผลิตที่สอดคล้องกับแนวคิดปรับเรียบการผลิต (Heijunka) เช่น เวลาการรับส่งของกำหนดสองกะ (16ชั่วโมง) โดยระบุให้ผู้ส่งมอบดำเนินการจัดส่งวัตถุดิบ 8 ครั้งในช่วงกะทำงาน นั่นคือ ผู้ส่งมอบต้องจัดส่งวัตถุดิบเพื่อป้อนให้กับโรงงานทุกสองชั่วโมง
ส่วนทางโรงงานจะต้องจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนอย่างพื้นที่จัดวาง อุปกรณ์ขนถ่ายและจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า ด้วยเหตุนี้ระบบ Milk Run จึงมีบทบาทสนับสนุนการสั่งซื้อแบบรุ่นเล็กที่มีความถี่ส่งมอบบ่อยครั้งแทนรูปแบบเดิมที่ส่งมอบคราวเดียวในปริมาณมาก รวมทั้งมลพิษอากาศที่เกิดจากปฏิกิริยาเผาไหม้ซึ่งปล่อยสู่บรรยากาศลดลงและช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อน ทำให้จุดรับสินค้าสามารถจัดแบ่งภาระงานที่เหมาะสม
สำหรับบริษัทโตโยต้า ประเทศไทย มีสัดส่วนการใช้ Milk Run Supplier ที่ 65% โดยมุ่งให้ผู้ส่งมอบชิ้นส่วนทุกรายเป็นระบบ Milk Run ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถตอบสนองให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว ปัจจัยความสำเร็จของโตโยต้าในการนำระบบ Milk Run มาใช้ ประกอบด้วย
1) บุคลากร โดยเฉพาะการจัดเตรียมบุคลากรเพื่อจัดส่งแบบ Milk Run จำแนกได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนวางแผนและปฏิบัติการ ทั้งสองกลุ่มนี้มีรูปแบบการทำงานต่างกัน แต่จะมีการสื่อสารถึงกันอยู่เสมอ
2) บรรจุภัณฑ์ โดยทั่วไปผู้ผลิตชิ้นส่วนแต่ละรายจะใช้ประเภทและขนาดบรรจุภัณฑ์ต่างกัน ทำให้เกิดช่องว่างการขนส่งและส่งผลให้เกิดความสูญเสียระหว่างการขนส่ง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว โตโยต้าจึงกำหนดมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ เรียกว่า TP-BOX (Toyota Poly Box) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่กำหนดความกว้าง-ยาวที่มีขนาดพอเหมาะกับชิ้นงาน สามารถวางซ้อนทับกันได้หลากหลายรูปแบบและปรับความสูง ได้ง่าย ทางโตโยต้าจะจัดส่งบรรจุภัณฑ์นี้ไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วน แล้วผู้ผลิตชิ้นส่วนจะนำบรรจุภัณฑ์นี้กลับมาให้โตโยต้าอีกครั้งเมื่อมาส่งชิ้นส่วน
3) เทคโนโลยีสนับสนุนการขนส่งแบบ Milk Run โดยนำเทคโนโลยีและระบบสนับสนุนอย่าง ระบบ EDI (Electronic Data Interchange) เพื่อส่งถ่ายข้อมูลระหว่างโรงงานกับผู้ส่งมอบชิ้นส่วน แต่ละรายเข้ามาใช้สั่งซื้อสินค้าไปยังผู้จัดส่ง ทำให้ข้อมูลมีความแม่นยำและรวดรวดเร็ว ระบบเหล่านี้จะมีการเชื่อมโยงกัน
มาตรฐานบรรจุภัณฑ์
นอกจากนี้โตโยต้าได้ส่งเสริมกิจกรรมลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนการผลิตและงานขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งมีการปรับเปลี่ยนหลายเส้นทางให้สั้นลง เช่น การดำเนินการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการขนส่งในพื้นที่ภาคอีสานเพื่อย่นระยะทางขนส่งได้ 35,222 กิโลเมตรต่อเดือน ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ 27.8 ตันต่อเดือน
ส่วนระบบขนส่งภายในประเทศ โตโยต้าได้พัฒนาระบบ Vehicles Logistics เป็นคลัสเตอร์ดีลิเวอรี่ กล่าวคือ เดิมใช้รถบรรทุก 1 คัน ขนรถยนต์ได้ 3 คันใหญ่ 6 คันเล็ก ปัจจุบันสามารถใช้รถบรรทุก 1 คัน ขนรถยนต์ 4 คันใหญ่ 8 คันเล็ก แต่ต่างจากประเทศญี่ปุ่นที่สามารถขนได้ 12 คันเล็ก สามารถช่วยลดการใช้รถบรรทุกขนส่งสินค้า เท่ากับเป็นการลดคาร์บอนไดออกไซด์และรักษาสิ่งแวดล้อมระยะยาว
โดยโตโยต้าได้พยายามถ่ายทอดเทคโนโลยีโลจิสติกส์ให้พันธมิตรกลุ่มผู้ส่งมอบและดีลเลอร์ เพื่อให้ทั้งระบบของโตโยต้าดำเนินแนวทางเดียวกัน นอกจากนี้หลายบริษัทได้ทยอยนำรถบรรทุกที่มีอยู่เปลี่ยนมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี การใช้เอ็นจีวีแทนน้ำมันจึงน่าจะเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและหยัดต้นทุน
การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนระบบ Milk Run
ศูนย์กระจายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ศูนย์กระจายสินค้าเทสโก้ โลตัส อ.สามโคก จ.ปทุมธานี มีพื้นที่ 25,000 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุน 935 ล้านบาท พนักงาน 750 คน มุ่งกระจายสินค้าอุปโภคบริโภคแห้งและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารกว่า 25,000 รายการไปยังห้างเทสโก้ โลตัส ขนาดใหญ่และร้านคุ้มค่าจำนวน 118 สาขาทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว สามารถจัดส่งสินค้าได้กว่า 2 ล้านลังต่อสัปดาห์ไปยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและจัดส่งสินค้าสูงสุด 2.6 ล้านลังต่อสัปดาห์ รองรับสาขาขนาดใหญ่ หรือไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาด 4,000 ตารางเมตรขึ้นไปได้ทั้งหมด 140 สาขา ถ้ามากกว่านี้ต้องขยายพื้นที่ศูนย์ไปยังที่ดินด้านหลัง สามารถเพิ่มพื้นที่ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ตารางเมตร
ศูนย์กระจายสินค้าเทสโก้ โลตัส อ.สามโคก จ.ปทุมธานี มีพื้นที่ 25,000 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุน 935 ล้านบาท พนักงาน 750 คน มุ่งกระจายสินค้าอุปโภคบริโภคแห้งและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารกว่า 25,000 รายการไปยังห้างเทสโก้ โลตัส ขนาดใหญ่และร้านคุ้มค่าจำนวน 118 สาขาทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว สามารถจัดส่งสินค้าได้กว่า 2 ล้านลังต่อสัปดาห์ไปยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและจัดส่งสินค้าสูงสุด 2.6 ล้านลังต่อสัปดาห์ รองรับสาขาขนาดใหญ่ หรือไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาด 4,000 ตารางเมตรขึ้นไปได้ทั้งหมด 140 สาขา ถ้ามากกว่านี้ต้องขยายพื้นที่ศูนย์ไปยังที่ดินด้านหลัง สามารถเพิ่มพื้นที่ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ตารางเมตร
ความโดดเด่นของศูนย์นี้ คือ การใช้นวัตกรรมใหม่ในการก่อสร้างและออกแบบหลังคามีความสูง 14 เมตร เพื่อลดความร้อน อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา มีกระจกที่หลังคาให้แสงผ่าน แต่ไม่ให้ความร้อนผ่าน ต่างจากศูนย์กระจายแห่งอื่นที่ใช้กระจกธรรมดา ที่หลังคายังมีช่องพัดลมดูดอากาศร้อนออกไปด้วย มีการติดตั้งพัดลมขนาดใหญ่ใต้เพดานหลายจุดเพื่อระบายความร้อน
เนื่องจากศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์กระจายสินค้าแบบ Cross Dock สินค้าที่คู่ค้าส่งมอบ พนักงานจะมีการคัดแยกสินค้าส่งไปแต่ละสาขาของเทสโก้ โลตัส ภายใน 12 ชั่วโมง สภาพของอากาศภายในศูนย์ที่ดีจะเอื้อต่อประสิทธิภาพการทำงานได้มากขึ้น เพราะแต่ละวันพนักงานจะเคลื่อนย้ายสินค้าถึง 3 แสนลัง จากการทำงาน 3 กะ/วัน
นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งหลอดไฟ ประหยัดพลังงานในระดับความสูง 5 เมตร ความสูงระยะดังกล่าวพอเหมาะต่อการทำงานมาก รถยกสินค้าใช้แบตเตอรี่ทั้งหมด การติดตั้งแผงพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาผลิตน้ำร้อนใช้ในศูนย์ และระบบหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 20% เมื่อเทียบกับศูนย์กระจายสินค้าเดิมที่ทำหน้าที่เดียวกัน การลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนดังกล่าว ไม่รวมถึงการที่คู่ค้าจำนวน 3,000 ราย นำสินค้ามาส่งที่ศูนย์แห่งนี้แล้วกระจายไปยังสาขาของเทสโก้ โลตัส ด้วยรถบรรทุกขนาดใหญ่เหลือเพียงวันละ 150 คัน หากใช้ระบบเก่าดั้งเดิมที่ให้คู่ค้าส่งตรงกับ 118 สาขา จะมีจำนวนถึง 63,720 เที่ยว/วัน
สำหรับศูนย์กระจายสินค้าอาหารสด ลำลูกกา ทางเทสโก้ โลตัส ลงทุนมูลค่า 1.6 พันล้านบาท เพื่อให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าทันสมัยในภูมิภาคเอเชีย โดยใช้เทคโนโลยีอันช่วยควบคุมคุณภาพอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 32% ต่อตารางเมตร ศูนย์กระจายสินค้าอาหารสดมาตรฐานระดับโลกแห่งนี้ สามารถจัดเก็บและกระจายอาหารสดจำนวน 230,000 ลังต่อวันจากคู่ค้า 450 ราย ตลอด 24 ชั่วโมงใน 365 วันต่อปี เพื่อมอบบริการที่ดีสำหรับลูกค้ากว่า 34 ล้านคนต่อเดือนของเทสโก้ โลตัสกว่า 700 สาขาทั่วประเทศ เพื่อคุณภาพอาหารสดใหม่สำหรับลูกค้า
โดยมีพื้นที่ใช้สอย 39,000 ตารางเมตร บนที่ดินกว่า 83 ไร่ ได้รับการพัฒนาการออกแบบและก่อสร้างภายใต้หลักปฏิบัติดีที่สุดของเทสโก้ คือ"ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ดีที่สุดสำหรับสิ่งแวดล้อม" ศูนย์กระจายสินค้าอาหารสด แบ่งโซนการจัดเก็บที่มีอุณหภูมิในการเก็บรักษาที่แตกต่างกันถึง 4 ระดับ คือ 20 องศา, 12 องศา, 1 องศาและ -21 องศา เพื่อให้สินค้าอาหารทุกประเภทถูกจัดเก็บในระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยใช้วัสดุและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศลง 32% ต่อตารางเมตร
ระบบได้รับการออกแบบให้สามารถลดจำนวนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างยั่งยืนและลงทุน 65 ล้านบาทใน 20 รายการประหยัดพลังงาน อาทิ ช่องรับและส่งสินค้าเข้าศูนย์แบบใหม่ที่คงอุณหภูมิในห้องเย็นของรถบรรทุกทุกขนาด พื้นปูด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน พิเศษ น้ำยาแอมโมเนียสำหรับทำความเย็น ระบบทำความเย็น ระบบ LED ไฟและแสงสว่างที่ช่วยประหยัดพลังงาน ทั้งหมดนี้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1,600 ตันต่อปี ศูนย์กระจายสินค้าอาหารสดลำลูกกา สามารถเก็บและกระจายอาหารสดให้กับสาขาของเทสโก้ โลตัสได้ในทุกรูปแบบ
สำหรับสินค้าอื่นที่ไม่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ เช่น อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ใช่อาหารสดจะมีการจัดเก็บและกระจายโดยศูนย์กระจายสินค้าที่วังน้อย จังหวัดอยุธยา ศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี และศูนย์กระจายสินค้าสามโคก จังหวัดปทุมธานี ระบบกระจายสินค้าจากส่วนกลางจะช่วยให้สามารถลดจำนวนเที่ยวการขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิผล
ศูนย์กระจายสินค้าอาหารสดที่ลำลูกกาจะช่วยเสริมเครือข่ายศูนย์กระจายสินค้าในการให้บริการลูกค้าได้รับของที่มีคุณภาพสดใหม่ ราคาประหยัด ด้วยระบบการควบคุมอุณหภูมิอันล้ำหน้าและประสิทธิภาพสูงสุด การออกแบบศูนย์กระจายสินค้าแห่งนี้ยังคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดในการทำงานสำหรับพนักงานและทุกคนที่เข้ามาในศูนย์กระจายสินค
รูปแบบบริการ
SCG Logistics บริการด้านโลจิสติกส์หลากหลายประเภท โดยออกแบบผสมผสานวิธีการที่หลากหลายบนพื้นฐานความต้องการของลูกค้าแต่ละราย มีการติดตามผลและปรับปรุงกระบวนการเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า
1. Logistics Solution Design บริการให้คำปรึกษาและออกแบบการขนส่งให้ตรงกับลักษณะสินค้าและความต้องการของของลูกค้าแต่ละราย
2. Stock Pile สถานที่กองเก็บสินค้าเทกอง ให้บริการจัดเก็บ คัดกรอง เพื่อกระจายสู่โรงงานปลายทาง
3. Transportation Management ระบบจัดการเครือข่ายการจัดส่งสินค้าเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้การขนส่งสินค้าหลายทางหรือ Multi Modal ทางรถ เรือ และรถไฟ ช่วยประหยัดพลังงานและช่วยรักษา สิ่งแวดล้อม
4. Customs Service บริการด้านพิธีศุลกากรสำหรับการนำเข้าส่งออก โดยระบบ E-Custom และ EDI
5. Warehouse บริการคลังสินค้าขนาดใหญ่ Import Export Service Center บนพื้นที่กว่า 80,000 ตารางเมตร อยู่ที่แหลมฉบัง
6. Cross Border Terminalบริการส่งสินค้าข้ามชายแดนจากจังหวัดหนองคาย ผ่านประเทศลาวไปจนถึงประเทศเวียตนาม และจากจังหวัดมุกดาหาร
7. Logistics Network in Indo-China เครือข่ายโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศอินโดจีน ให้บริการขนส่งในกัมพูชา และเวียดนาม
บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SCG Logistics Management Co., Ltd.) ผู้ชนะเลิศการประกวด ELMA 2011 รางวัลกลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์ สำหรับการจัดการด้านการให้บริการโลจิสติกส์ของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ครบวงจร (Integrated Logistics) ธุรกิจขนาดใหญ่
Export Logistics Model Award 2011 (ELMA 2011) นับเป็นสุดยอดรางวัลแห่งความภูมิใจของผู้ประกอบการส่งออกสินค้าและบริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 โดยสำนักโลจิสติกส์การค้า กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ โดยจัดให้มีการมอบรางวัลภายในงาน TILOG 2011 เมื่อเดือนกันยายน 2554
SCG Logistics มุ่งมั่นนำเสนอบริการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การมีเครือข่ายที่ครอบคลุม รวมถึงการให้บริการคลังสินค้าที่มีมาตรฐาน ดำเนินธุรกิจในลักษณะ Third Party Logistics (3PL) เป็นผู้ออกแบบและจัดการระบบโลจิสติกส์ให้ลูกค้า นอกจากนั้นยังมีและเสริมสร้างความการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้แก่ TMS RFID และ GPS เป็นต้น การบริหารจัดการที่มีคุณภาพดังกล่าวส่งผลให้บริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง
คุณทวี ศรีชัยนาค ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและวางแผนกระจายสินค้า SCG Logistics Managementเปิดเผยว่า รางวัลที่ได้จากปัจจัยหลักๆ คือการสนองตอบความต้องการของลูกค้าในสองมุมมอง เราทำซีเมนต์ส่งออกไปใช้ในการสร้างเขื่อนที่ลาว อีกด้านหนึ่งลูกค้าต้องการได้ต้นทุนที่ถูก เราผสมผสานโมเดลกับรถเอ็นจีวีที่เรามีอยู่ วิ่งจากที่นี่ไปหนองคาย ประหยัดเที่ยวละ 5-7 พันบาท จากนั้นใช้รถแรงม้าสูงวิ่งที่ลาว โมเดลที่เราพัฒนาทำให้ต้นทุนลูกค้าแข่งขันได้ นอกจากนี้เรายังให้ความสำคัญกับการจัดการบริหารผู้รับเหมาขนส่ง การบริหารเรื่องเส้นทาง แผนของลูกค้าในการรับสินค้า ฯลฯ
ด้านวิสัยทัศน์ธุรกิจและการนำองค์กร SCG Logistics วางแผนจะก้าวสู่การเป็นผู้นำ 3PL ที่โดดเด่น ด้วยเครือข่ายการขนส่งที่แข็งแกร่งและใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในปี 2016 นอกจากนี้ยังมีแผนการขยายธุรกิจไปยังกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งสินค้าเกษตร ทั้งนี้บริการโลจิสติกส์ของ SCG Logistics ครอบคลุมถึงการขนส่งทั้งทางบกและ Multimodal การจัดการคลังสินค้า และบริการเพิ่มคุณค่าอื่นๆ ที่ลูกค้าต้องการ
“เราจะขยายบริการไปยังกลุ่มประเทศ GMS และอินโดนีเซีย ด้วยการเพิ่มความเชี่ยวชาญของเรา รวมถึงการเพิ่มลูกค้าและเครือข่ายผู้บริหารขนส่ง” คุณทวี กล่าว
จากวิสัยทัศน์ของ SCG Logistics แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการขยายเครือข่ายการขนส่งไปยังกลุ่มประเทศ GMS เพื่อรองรับการขยายตัวของลูกค้า SCG Cement ซึ่งเป็น Strategic Customer และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ SCG Cement ที่ว่า “รักษาความเป็นผู้นำของธุรกิจปูนซีเมนต์ในประเทศ พร้อมทั้งมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองเป็นผู้นำของธุรกิจปูนซีเมนต์ในภูมิภาคอาเซียน” โดยมีภาระกิจที่สำคัญอันหนึ่งคือ“ขยายธุรกิจโดยแสวงหาโอกาสในการลงทุนในธุรกิจปูนซีเมนต์ทั้งในและต่างประเทศ”
ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ทางด้านโลจิสติกส์ SCG Logistics วางกลยุทธ์การสำรวจเส้นทางขนส่งที่จะทำให้ต้นทุนแข่งขันได้และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะรูปแบบสำหรับการขนส่งสินค้าออกทางชายแดน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการใช้รูปแบบสลับหัวหางระหว่างรถ NGV และรถน้ำมัน เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและ Utilize รถที่มีอยู่ภายใน fleet เดิม
ถึงแม้ว่าความต้องการลูกค้าที่ต้องการต้นทุนด้านโลจิสก์ติกส์ที่อยู่ในระดับที่แข่งขันกับตลาดได้ แต่ในทางกลับกันกลับพบว่าต้นทุนด้านโลจิสติกส์อาจเพิ่มสูงขึ้น หากพิจารณาถึงสภาพเส้นทางที่ความลาดชัน ซึ่งต้องใช้รถที่มีกำลังม้าสูง ประกอบกับต้องพัฒนาและคัดเลือกพนักงานขับรถที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญมากในการขับ
SCG Logistics ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะคนขับรถ และบริหารความปลอดภัย ให้มีอุบัติเหตเป็นศูนย์“อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์” เป็นเจตนารมณ์ของ SCG ในการดูแลด้านความปลอดภัยการขนส่งของ SCG Logistics ไม่ได้ดูแลเพียงเรื่องต้นทุนเท่านั้น แต่รวมถึงการป้องกันอุบัติเหตุ การดูแลด้านความปลอดภัยของพนักงานขับรถด้วย จากการที่เส้นทางการขนส่งมีความยากลำบาก ทั้งสภาพถนนที่เป็นหินและขรุขระ เส้นทางที่เป็นเขาสูงชัน การดูแลด้านความปลอดภัยเป็นรากฐานการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่ SCG Logistics ใส่ใจเป็นอันดับแรก
ด้านการจัดการสารสนเทศในงานโลจิสติกส์ ในส่วนของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ SCG Logistics มีระบบมาตรฐานเพื่อสามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้ โดยในแง่ของการให้บริการลูกค้า SCG Trading บริษัทได้นำระบบ SAP มาใช้ในการบริหารคำสั่งซื้อของลูกค้า
ระบบ Order Staging System (OSS) เป็นระบบที่ใช้ในการนำ order จากระบบ SAP มาใช้สร้างใบขนส่งสินค้า ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบ Transportation Management System (TMS) ซึ่งเป็นระบบในการบริหารข้อมูลการจัดส่งสินค้า โดยระบบ TMS จะทำงานโดยเชื่อมต่อกับผู้รับเหมาขนส่ง เพื่อให้สามารถมองเห็น order และเตรียมกำลังรถขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อปริมาณงาน
ระบบ Logistics Network Database เป็นระบบที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ โดยข้อมูลการขนส่งทั้งหมด ประกอบด้วย ข้อมูลสินค้า ข้อมูลประเภทรถ และข้อมูลผู้รับเหมาขนส่ง ข้อมูลด้านเส้นทาง ระยะทาง ตลอดจนต้นทุนการขนส่งในขณะนั้น จะถูกเก็บในถังข้อมูลส่วนกลางของบริษัทซึ่งสามารถเรียกดูย้อนหลัง และนำมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานได้
ระบบ GPS Track & Trace System เป็นระบบที่เชื่อมต่อกับระบบ TMS ใช้สำหรับ monitor สถานะการขนส่งให้กับลูกค้าแบบ real time โดยมี GPS web สามารถให้ผู้รับเหมาขนส่งเข้าไป monitor รถขนส่งเพื่อบริหารรอบในการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยในการส่งมอบสินค้าซีเมนต์ผงในประเทศลาวได้นำระบบ GPS มาใช้เพื่อตรวจสอบสถานะรถขนส่งให้กับลูกค้า ตั้งแต่รถออกจากฐานของผู้รับเหมา รับปูนซีเมนต์ที่โรงานปูนซีเมนต์ในสระบุรี จนถึงคลังสินค้าหนองคาย ส่วนในกรณีข้ามไปฝั่งประเทศลาว ทางบริษัทจะติดต่อสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์ที่ใช้เครือข่ายในประเทศลาวผ่านทาง Shipping ที่นั่งไปกับรถขนส่งสินค้าด้วย แต่อย่างไรก็ตาม GPS ก็จะจดจำพิกัดและข้อมูลการเดินทางเพียงแต่จะแสดงผลได้ก็ต่อเมื่อกลับเข้ามาในฝั่งประเทศไทยข้อมูลจึงสามารถถ่ายโอนได้ ซึ่งในอนาคตอาจมีการพัฒนาระบบ GPS ให้สามารถใช้ได้ทั้งในประเทศไทยและลาว
บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจการค้าภายในประเทศ ผ่านผู้แทนจำหน่าย การค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งบริการด้านการขนส่ง กระจายสินค้า และคลังสินค้า
เพื่อพัฒนาระบบการจัดจำหน่ายในประเทศ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ธุรกิจฯ ได้นำระบบ การบริหารคู่ค้าสัมพันธ์ มาใช้กับผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศ ตลอดจนพัฒนาธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ในการสั่งซื้อและชำระเงิน
เพื่อพัฒนาระบบการจัดจำหน่ายในประเทศ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ธุรกิจฯ ได้นำระบบ การบริหารคู่ค้าสัมพันธ์ มาใช้กับผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศ ตลอดจนพัฒนาธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ในการสั่งซื้อและชำระเงิน
บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด ได้พัฒนาช่องทางการค้าปลีก ผ่านร้านซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ท เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่เลือกซื้อสินค้าด้วยตนเองได้ดียิ่งขึ้น
ด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้พัฒนาตลาดใหม่ รวมทั้งแสวงหาแหล่งวัตถุดิบ และสินค้าที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างฐานลูกค้า และเพิ่มความมั่นใจให้กับคู่ค้า ตลอดจนเพิ่มบทบาทในการเป็นศูนย์กลางการจัดซื้อ และยังมีความเชี่ยวชาญเรื่องโลจิสติกส์ โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง และพัฒนาบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียี่งขึ้น
เจ้าหน้าที่คลังสินค้า ( คลองหลวง )
Bangkok , Pathum Thani
Responsibilities:
- ติดต่อประสานงาน , รับงานจากลูกค้า
- ดูแล และควบคุมการ รับ-จ่าย ของสินค้าในแต่ละวัน
- บริหารพื้นที่จัดเก็บสินค้าและวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ
- ตรวจนับสินค้าคงคลัง สรุปรายงานการเคลื่อนไหวของสินค้า และยอดคงเหลือในแต่ละเดือน
- ควบคุมและพัฒนาแรงงานจ้างเหมาของคลัง
Requirements:
- เพศชาย / หญิงอายุไม่เกิน 35 ปี
- วุฒิ ปวส. โลจิสติกส์/คอมพิวเตอร์/ตลาด หรืออื่น ๆ เกรดเฉลี่ย 2.5 ขึ้นไป
- มีประสบการณ์ด้านคลังสินค้า 5 ปีขึ้นไป
- สามารถใช้โปรแกรม Ms. Office ได้อย่างดี
- มีความละเอียด รอบคอบ
- มีบุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์ดี
- สามารถเดินทางไปต่างจังหวัดได้
ปัจจุบัน SCG มีบริษัทสำคัญกว่า 100 บริษัท มีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 28,000 คน ผลิตสินค้ากว่า 64,000 รายการ เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก แต่เดิม SCG ดำเนินธุรกิจอยู่ในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม แต่หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 SCG ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารและการดำเนินธุรกิจขนานใหญ่ จนกระทั่งในปัจจุบัน SCG คงเหลือไว้ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่สำคัญ 6 กลุ่ม ได้แก่ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ปิโตรเคมี กระดาษและบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจจัดจำหน่าย และธุรกิจการลงทุน
กลุ่มธุรกิจซีเมนต์ หรือ SCG Cement
ธุรกิจซีเมนต์ถือเป็นธุรกิจแรกของ SCG เกิดขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ในปี พ.ศ. 2456 และถือเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกของประเทศไทย แรกเริ่มมีผลิตภัณฑ์ คือ ปูนตราช้าง ปูนตราเสือและ ปูนตราเอราวัณ(ในอดีต) เป็นหลัก ในปัจจุบัน SCG Cement ได้มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องประกอบกับการวิจัยและพัฒนาทำให้มีผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ท้องตลาดอีกหลากหลาย อาทิเช่น ปูนซีเมนต์คอนกรีตผสมเสร็จ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ขาว และวัสดุทนไฟ รวมทั้งให้บริการด้านเทคนิคและการติดตั้งโรงงานแก่ลูกค้าทั้งในและนอก SCG โดยมีบริษัทหลักคือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด และมีธุรกิจปูนซีเมนต์ในประเทศกัมพูชา K-Cement
กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง หรือ SCG Building Materials
SCG เริ่มเข้าสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2481 นับเป็นธุรกิจที่สองของ SCG โดยเริ่มจากการผลิตกระเบื้องมุงหลังคา ปัจจุบันธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้างมีการผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และสินค้าตกแต่งหลากหลายประเภท ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์หลังคา กระเบื้องเซรามิก สุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ บล็อกปูถนน ฉนวนกันความร้อน
กลุ่มธุรกิจจัดจำหน่าย หรือ SCG Distribution
SCG เริ่มเข้าสู่ธุรกิจจัดจำหน่าย ในปี พ.ศ. 2505 ปัจจุบันธุรกิจจัดจำหน่าย ดำเนินธุรกิจการค้าภายในประเทศผ่านผู้แทนจำหน่าย การค้าระหว่างประเทศ รวมทั้ง บริการด้านการขนส่ง กระจายสินค้า และคลังสินค้า ได้พัฒนาช่องทางการค้าปลีก และมีธุรกิจนำเข้า แบะส่งออกสินค้าในทุกทวีปทั่วโลกผ่าน บริษัท เอสซีจี ค้าสากล จำกัด หรือ SCG Trading
กลุ่มธุรกิจกระดาษ หรือ SCG Paper
SCG เข้าสู่ธุรกิจกระดาษ ในปี พ.ศ. 2519 ปัจจุบันธุรกิจกระดาษมีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ประกอบด้วย เยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษอุตสาหกรรม และบรรจุภัณฑ์
กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี หรือ SCG Chemicals
SCG เข้าสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบัน ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ผลิตและจำหน่าย เคมีภัณฑ์ครบวงจร ตั้งแต่ขั้นต้น ได้แก่ โอเลฟินส์ ขั้นกลาง ได้แก่ สไตรีนโมโนเมอร์ พีทีเอ และเอ็มเอ็มเอ และขั้นปลาย ได้แก่เม็ดพลาสติกหลักทั้ง4 ประเภท ได้แก่ โพลิเอททีลีน โพลิโพรไพลีน โพลิไวนิลคลอไรด์ และโพลิสไตรีน โดยมีบริษัทหลักคือ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด
ธุรกิจการลงทุน หรือ SCG Investment
บริษัทซิเมนต์ไทย โฮลดิ้ง ดูแลด้านการลงทุนในกิจการต่างๆ ของ SCG ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้เป็น บริษัทร่วมทุนกับบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ อาทิ Kubota, Yamato Kogyo, Aisin Takaoka Group, Nippon Steel, Toyota Motor, Michelin, Hayes Lemmerz International เป็นต้น นอกจากนี้ยังดูแลธุรกิจที่ดิน อุตสาหกรรมร่วมกับ Hemaraj Development
อุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจ
แนวทางในการดำเนินธุรกิจของ SCG นั้นประกอบด้วย 4 สิ่ง คือ "ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม" ซึ่งยึดถือเป็นแนวปฏิบัติกของพนักงานทุกคนไล่มาตั้งแต่ระดับคณะจัดการ จนกระทั่งถึงพนักงานทุกระดับ
ตั้งมั่นในความเป็นธรรม
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ SCG ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้สินค้า ผู้ถือหุ้น หุ้นส่วนธุรกิจ ผู้ที่ดำเนินธุรกิจด้วย หรือพนักงาน จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ขณะประกอบธุรกิจ หรือทำงานร่วมกับ SCG
มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ
มุ่งกระทำการทุกอย่าง ด้วยความตั้งใจให้เกิดผลในทางที่ดีกว่าเสมอ โดยมุ่งมั่นที่จะประกอบธุรกิจอย่างดีเยี่ยม เต็มความสามารถ ขณะเดียวกันก็พยายามหาแนวทาง การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศอยู่ตลอดเวลา และอย่างต่อเนื่อง
เชื่อมั่นในคุณค่าของคน
ให้ความสำคัญต่อ คุณค่าของพนักงาน และถือว่าเขาเหล่านั้นคือสมบัติที่มีค่าที่สุดพยายามคัดสรรบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถ และมีคุณธรรมเข้ามาร่วมงาน ให้การฝึกฝน พัฒนา และดูแลอย่างดี ด้วยสวัสดิการ และผลตอบแทนตามสมควร
ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม
ตั้งเจตนารมณ์ไว้ว่า จะดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบที่พึงมีต่อ ประเทศชาติและสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญจะประพฤติตนเป็นพลเมืองดีทำประโยชน์ให้แก่สังคม และทุกชุมชนที่ SCG ดำเนินธุรกิจอยู่
SCG Logistics แอพลิเคชันที่จะช่วยให้คุณรู้จักธุรกิจและรูปแบบการให้บริการของ SCG Logistics มากยิ่งขึ้น โดยภายในแอพลิเคชั่นจะมีการแยกหมวดหมู่ ดังนี้
1. Company Profile ส่วนแนะนำบริษัท เป็นข้อมูลที่จะช่วยให้คุณได้รับทราบถึงธุรกิจของเราโดยมีข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น ประเภทการให้บริการ, ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ , การดำเนินการด้านความปลอดภัย และ Green Logistics เป็นต้น
2. Contact Point เป็นช่องทางในการติดต่อกับหน่วยงานภายใน SCG Logistics ที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีรายละเอียด เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์
3. Events Calendar เป็นปฏิทินนัดหมาย เพื่อไม่ให้พลาดกิจกรรมร่วมกันระหว่างบริษัท SCG Logistics และคู่ธุรกิจ ผ่านระบบการ Log in เพื่อตรวจสอบสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล
4. Distance Calculation เป็นโปรแกรมคำนวณระยะทาง พร้อมประมาณการระยะเวลาในการเดินทาง โดยแสดงเส้นทางเดินรถจากแผนที่ Google Map โดยคุณสามารถเลือกค้นหาข้อมูลได้ทั้งจุดกระจายสินค้าหรือคลังสินค้า ที่อยู่ในความรับผิดชอบขนส่งของ SCG Logistics ไปยังปลายทางต่างๆ ลงรายละเอียดถึงระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล หรือสามารถเลือกค้นหาแบบระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้เอง โดยมีระบบการ Log in เช่นเดียวกันกับ Event Calendar
ประวัติบริษัท
SCG Logistics เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจจัดจำหน่ายในเครือ SCG โดยให้บริการจัดการทางด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทย ในก่อนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ.2540 บริษัทเป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนให้กับ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในการขนส่งสินค้า หลังจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ.2541 จึงมีการปรับโครงสร้างองค์กร ให้แยกหน้าที่ในการดำเนินงานการขนส่งออกมาจัดตั้งเป็นบริษัท โดยใช้ชื่อว่า บางซื่อ ขนส่ง และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซิเมนต์ไทย โลจิสติกส์ จำกัด ในปี พ.ศ.2543จากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทเป็น เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ในปี พ.ศ.2547 เพื่อการสร้าง Brand ร่วมกันภายใต้ชื่อ SCG
SCG Logistics มุ่งมั่นนำเสนอบริการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การมีเครือข่ายที่ครอบคลุม รวมถึงการให้บริการคลังสินค้าที่มีมาตรฐาน นอกจากนั้นยังมีและเสริมสร้างความการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า การบริหารจัดการที่มีคุณภาพดังกล่าวส่งผลให้บริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง
คน...ปัจจัยสำคัญที่สุดของ Cement Thai Home Mart
ถ้าพูดถึงเรื่อง “คน” (People) เรารับรู้กันมานานเกี่ยวกับธุรกิจหนึ่งที่ให้ความสำคัญในเรื่องคน นั่นคือปูนซีเมนต์ไทยหรือ SCC
ส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนรับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายให้กับธุรกิจเครือปูนฯ ไม่ค่อยเจอกับร้านค้าตัวแทนจำหน่ายแต่จะเป็นการบรรยายให้พนักงานและผู้บริหารเสียเป็นส่วนใหญ่หรือมีโอกาสเจอะเจอก็มาเข้าในการสัมมนาแบบเปิดทั่วไป (Public Program)
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.50 ผู้เขียนรับเชิญไปบรรยายให้กับ SCG Disctribution หรือธุรกิจด้านจัดจำหน่ายของซีเมนต์ไทยแต่เป็นการบรรยายให้กับร้านค้าซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท พูดง่ายๆ คือ ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างทั้งหมดที่เป็นช่องทางจำหน่ายในรูปแบบโมเดิร์นเทรด (Modern Trade)
ส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนรับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายให้กับธุรกิจเครือปูนฯ ไม่ค่อยเจอกับร้านค้าตัวแทนจำหน่ายแต่จะเป็นการบรรยายให้พนักงานและผู้บริหารเสียเป็นส่วนใหญ่หรือมีโอกาสเจอะเจอก็มาเข้าในการสัมมนาแบบเปิดทั่วไป (Public Program)
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.50 ผู้เขียนรับเชิญไปบรรยายให้กับ SCG Disctribution หรือธุรกิจด้านจัดจำหน่ายของซีเมนต์ไทยแต่เป็นการบรรยายให้กับร้านค้าซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท พูดง่ายๆ คือ ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างทั้งหมดที่เป็นช่องทางจำหน่ายในรูปแบบโมเดิร์นเทรด (Modern Trade)
เปิดฉากแรก : Total People Supply Chain
ก่อนที่ผู้เขียนจะเดินทางไปบรรยายให้กับ SCG Distribution ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ลองจำลองภาพว่าในธุรกิจร้านขายแบบซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท ถ้ามอง “คน” ในลักษณะ ซัพพลายเชน (Supply Chain) น่าจะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าจึงสรุปเป็นดังรูปต่อไปนี้
หมายความว่า ร้านซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ทจะมีการสัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับคนตั้งแต่ SCG Distribution ซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้าของ SCG ทั้งหมดและสนับสนุนด้านการจัดการทรัพยากรร้าน (ERP: Enterprises Resource Planning) การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM: Customer Relationship Management) ซัพพลายเออร์ (Supplier) ที่ส่งสินค้าอื่นเข้ามาขายในร้าน ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ซึ่งเป็นเจ้าของร้านและสุดท้ายคือลูกค้า (Customers) ทั้งหมดนี้คือ ซัพพลายเชนด้านคนของร้านซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท
ถ้ากลับมาพิจารณาภายในร้านฯ ในส่วนการบริหารจะเป็นผู้ประกอบการคือ เจ้าของร้าน ทีมบริหารซึ่งอาจจะมีผู้จัดการหรือผู้ช่วยผู้จัดการร้าน หรือซูเปอร์ไวเซอร์ที่รับผิดชอบแต่ละกลุ่มงาน โดยที่ภายในร้านฯ กลุ่มงานธุรกิจจะมีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกัน อาทิ กลุ่มบริการลูกค้า ที่ทำหน้าที่ด้านการขาย เช่น ขายโครงการ (Project Sales) ขายส่ง (Wholesales) ขายปลีก (Retail) หรืออาจจะมีการขายทางโทรศัพท์ (
สุดยอดเคล็ดลับการบริหารคนในโมเดิร์นเทรด
ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานของผู้เขียนด้านการบริหาร HR และการคลุกคลีในด้านห้างสรรพสินค้า คอนวีเนียนสโตร์และธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค-บริโภค ได้สังเคราะห์เป็นรูปแบบ “สุดยอดเคล็ดลับการบริหารคนในโมเดิร์นเทรดดังนี้
จากรูปสุดยอดเคล็ดลับการบริหารคนในโมเดิร์นเทรดนั้น จะมี 4 เรื่องด้วยกันคือ 1) การคัดเลือกคนที่อยากเรียนรู้ รักงานขายและธุรกิจ 2) รวมใจสู่ความเป็นหนึ่งของร้านฯ 3) ที่นี่คือบ้านหลังที่ 2 และ 4) จงอยู่ให้เขารัก จากให้เขานึกถึง ซึ่งในรายละเอียดจะมีดังนี้
(1) การคัดเลือกคนที่อยากเรียนรู้รักงานขายและธุรกิจ
สิ่งนี้คือหัวใจสำคัญอันดับแรกในการบริหารคน เพราะการคัดเลือกคนถ้าทำได้อย่างดีและถูกต้องก็จะนำไปสู่การเป็นรากฐานสำคัญในทุกๆ เรื่องของธุรกิจหรือร้านซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท
ผู้เขียนได้แนะอธิบายถึงเรื่อง “เมื่อไหร่ถึงควรจะเพิ่มคน” ด้วยมุมมองของเจ้าของร้านหรือผู้ประกอบการมักจะคิดในเรื่องนี้ไม่ค่อยตก
เคล็ดลับจึงอยู่ที่ว่าเมื่อใดที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของร้านเริ่มพบว่า การดูแลงานต่างๆ ภายในร้านไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึง หรือทำได้ไม่ทันที่จะบริการลูกค้า แสดงให้เห็นว่างานที่รับผิดชอบนั้นมีความจำเป็นต้องเพิ่มคนเข้ามาช่วยรับผิดชอบ แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่สิ่งนี้จะเรียกว่า การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) สำหรับธุรกิจที่ไม่ใหญ่มากสามารถใช้วิธีการข้างต้นของผู้เขียนได้
“ดูยังไงถึงจะได้อยู่กับเรานานๆ” เคล็ดลับในเรื่องนี้ความจริงแล้วเป็นการเปรียบ-เทียบให้เห็นภาพครับ คนที่จะอยู่กับเรานานๆ นั้นอยู่ที่เจ้าของร้านได้จัดสิ่งแวดล้อม การดูแลด้านการทำงานให้คนรู้สึกว่าสนุกกับการทำงานได้หรือไม่ ขณะเดียวกันคนที่จะอยู่กับเรานานๆ นั้นอยู่ที่ เขามีใจรักในงานที่จะมาทำหรือไม่ ถ้าร้านเป็นงานขายดังนั้นเขาจะต้องมีใจรักงานขาย มีใจรักที่จะเรียนรู้ธุรกิจ สิ่งนี้คือพื้นฐานที่สำคัญที่สุด
“ซูเปอร์ไวเซอร์ควรมีหรือไม่” เรื่องนี้ถือเป็นอีกเรื่องที่ถามกันมากในธุรกิจหลายๆ แห่งของผู้ประกอบการ ผู้เขียนมีเคล็ดลับง่ายๆ คือ
1) ต้องการมีคนที่อาวุโส รอบรู้ลึกทั้งงานธุรกิจในระดับหนึ่งเข้ามาช่วยเจ้าของกิจการ
2) ต้องการเพิ่มยอดขายให้มากกว่าเดิม 25-30%
3) เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่การขายหรือเขตการขายที่จะดูแลทีมขายในความรับผิดชอบขอบตนตั้งแต่รับคน พัฒนา สอนแนะนำ วางแผนการขาย ส่งเสริมการขายและติดตามวัดผลความสำเร็จด้านยอดขาย
ถ้าท่านตอบ 3 สิ่งข้างต้นนี้ได้ก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีซูเปอร์ไวเซอร์
“ดูยังไงถึงจะได้อยู่กับเรานานๆ” เคล็ดลับในเรื่องนี้ความจริงแล้วเป็นการเปรียบ-เทียบให้เห็นภาพครับ คนที่จะอยู่กับเรานานๆ นั้นอยู่ที่เจ้าของร้านได้จัดสิ่งแวดล้อม การดูแลด้านการทำงานให้คนรู้สึกว่าสนุกกับการทำงานได้หรือไม่ ขณะเดียวกันคนที่จะอยู่กับเรานานๆ นั้นอยู่ที่ เขามีใจรักในงานที่จะมาทำหรือไม่ ถ้าร้านเป็นงานขายดังนั้นเขาจะต้องมีใจรักงานขาย มีใจรักที่จะเรียนรู้ธุรกิจ สิ่งนี้คือพื้นฐานที่สำคัญที่สุด
“ซูเปอร์ไวเซอร์ควรมีหรือไม่” เรื่องนี้ถือเป็นอีกเรื่องที่ถามกันมากในธุรกิจหลายๆ แห่งของผู้ประกอบการ ผู้เขียนมีเคล็ดลับง่ายๆ คือ
1) ต้องการมีคนที่อาวุโส รอบรู้ลึกทั้งงานธุรกิจในระดับหนึ่งเข้ามาช่วยเจ้าของกิจการ
2) ต้องการเพิ่มยอดขายให้มากกว่าเดิม 25-30%
3) เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่การขายหรือเขตการขายที่จะดูแลทีมขายในความรับผิดชอบขอบตนตั้งแต่รับคน พัฒนา สอนแนะนำ วางแผนการขาย ส่งเสริมการขายและติดตามวัดผลความสำเร็จด้านยอดขาย
ถ้าท่านตอบ 3 สิ่งข้างต้นนี้ได้ก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีซูเปอร์ไวเซอร์
(2) รวมใจสู่ความเป็นหนึ่งของร้าน
หลังจากที่เข้าใจเคล็ดลับข้อแรกแล้วรับรองว่าเคล็ดลับข้อ 2 นี้จะง่ายขึ้นเท่าตัว เพราะเป็นเรื่องของ
- การค้นให้พบว่า “หัวใจสำคัญของร้านมีอะไรบ้าง?” ถ้าใครได้มีโอกาสอ่านหนังสือ “ปั้นนักขายและนักการตลาดพันธุ์ใหม่” ของผู้เขียนคงจะตอบได้คือ การขาย (Sales)-จัดการเงิน (Financial) –ดูแลคน (People) -สร้างระบบข้อมูล/ตลาดและระบบธุรกิจ (MK&B System)
- ควรสอนแนะนำอะไร สิ่งที่ผู้ประกอบการจะสอนคือ “ขาย-จัดการเงิน-ดูแลคน-สร้างระบบข้อมูลตลาด/ระบบธุรกิจ” สี่อย่างนี้คือเรื่องที่จะสอนเพื่อให้ร้านฯ ดำเนินธุรกิจไปได้ดีและแข่งขันได้
- บริษัท/ร้านจะไปสู่ฝันด้วยวิธีไหน คำตอบชัดที่สุดคือ ทำแผนงานและวัดความสำเร็จในเรื่องข้างต้นโดยการพัฒนาให้ทุกกลุ่มงานทั้ง 3 กลุ่มคือ กลุ่มบริการลูกค้า กลุ่มคลังสินค้าและกลุ่มสนับสนุน
(3) ที่นี่คือบ้านหลังที่ 2
สิ่งที่เป็นเคล็ดลับประการที่ 3 คือ ทำให้พนักงานรู้สึกว่าร้านแห่งนี้คือ บ้านหลังที่ 2 ซึ่งจะต้อง “จัดรายได้ให้ชีวิต” “ดูแลความเป็นอยู่สารทุกข์ สุกดิบ” และ “ปั้นให้เติบโตและสอนการใช้ชีวิต”
นี่คือสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ชีวิตและความเป็นอยู่กับพนักงานทั้งร้าน
จงให้ก่อนที่เขาจะขอ เพราะสิ่งที่ให้นั้นจะมีคุณค่า
จงให้ชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี เมื่อใดที่เขาอยู่ยาก กินลำบาก เขาจะไม่ทุ่มเทให้กับร้าน การทุจริตก็จะเกิดขึ้นและพนักงานจะลาออกบ่อยครั้ง
การให้ความเป็นอยู่ดูแลทุกข์สุกดิบคือ สวัสดิการไม่ใช่รายได้ ผู้ประกอบการต้องแยกจากกัน เพราะเมื่อใดที่รวมกันจะกลายเป็นท่านเอาเปรียบพนักงาน
(4) จงอยู่ให้เขารัก จากให้เขานึกถึง
ประเด็นสำคัญคือ ผู้ประกอบการต้อง “ตีโจทย์ให้แตก” ในเรื่อง A หน้าที่ (กฎ กติกา มารยาท) จะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าใครรับผิดชอบอะไร อย่างไร วัดผลได้ B อุทิศสร้างสรรค์คือ การที่คิดแบบ win-win ท่านให้รายได้และความเป็นอยู่ที่ดี พนักงานจะรู้สึกต้องทำงานให้คุ้มกับสิ่งที่ได้และห่วงใยงาน C มุ่งมั่นความสำเร็จ ผู้ประกอบการต้องสร้างวิถีแห่งความสำเร็จด้วยการมุ่งผลลัพธ์เน้นความสำเร็จของงานเพื่อให้เขารักและรู้สึกคิดถึงเมื่อเขาจากไป
นวพลาสติกฯ” บริษัทในเครือ SCG เปิดโรงงานย้ำชัดผลิตสินค้าคุณภาพทุกขั้นตอนภายใต้นโยบายการบริหารจัดการด้วยแนวคิด “Lean”
“นวพลาสติกฯ” โชว์ศักยภาพการผลิตสินค้าในธุรกิจพลาสติกอย่างครบวงจร รุกตลาดทั้งในประเทศ และภูมิภาคอาเซียน ผู้บริหารฯ เผยแนวคิดบริหารจัดการเล็งดันองค์กรเป็น Lean Enterprise ที่เน้นการใช้ทรัพยากรเพื่อเพิ่มคุณค่าต่อสินค้าและบริการตามความต้องการของลูกค้าอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน พร้อมตระหนักการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม - เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นายธีรัตถ์ อุทยานัง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด ในเครือ SCG เปิดเผยว่า นวพลาสติกฯ เราเป็นผู้นำอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไวนิลของอาเซียน เริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี2513 ซึ่งถือหุ้นโดยบริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) นับจากจุดเริ่มต้นเราได้พยายามพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการในธุรกิจพลาสติกอย่างครบวงจร เพื่อการก้าวสู่ผู้นำตลาดในธุรกิจไวนิลในอาเซียนและธุรกิจแม่พิมพ์ในเมืองไทย
ทั้งนี้ ในปัจจุบันนวพลาสติกฯ มีโรงงานผลิตสินค้าเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าอยู่ 2 แห่ง คือ โรงงานนวพลาสติกฯ จังหวัดสระบุรี และโรงงานนวพลาสติกฯ จังหวัดระยอง นวพลาสติกฯ ประกอบด้วย 3 บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างสอดคล้องกัน คือ บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม (สระบุรี) จำกัด ดำเนินธุรกิจเดินผลิตสินค้าประเภทท่อ,ข้อต่อ และอุปกรณ์พีวีซี ภายใต้แบรนด์ “ตราช้าง” โดยมีกำลังการผลิตท่อและข้อต่อประมาณ 150,000 ตันต่อปี, บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าอุปกรณ์ก่อสร้างและตกแต่งจาก VINYL แบรนด์ “WINDSOR” มีกำลังการผลิตประมาณ 13,000 ตันต่อปี และบริษัท นวอินเตอร์เทค จำกัด ดำเนินธุรกิจแม่พิมพ์สำหรับงานฉีด
งานรีดพลาสติก แม่พิมพ์ตีขึ้นรูปโลหะ อุปกรณ์โลหะ และชิ้นส่วนเครื่องจักรในอุตสาหกรรม ภายใต้แบรนด์ “NAWA INTERTECH” ผลิตได้ประมาณ 200 ชุดต่อปี
“โดยมูลค่าการจัดจำหน่ายสินค้าของนวพลาสติกมีสัดส่วนจำหน่ายในประเทศ 90 % ที่เหลือส่งออกในต่างประเทศประมาณ 10% โดยสินค้าที่ส่งออกนั้น ได้แก่ สินค้าท่อ ข้อต่อ และ WINDSOR ซึ่งจะเน้นการขายในประเทศแถบภูมิภาคอาเซียน เช่น ประเทศลาว, กัมพูชา,พม่า,เวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศเป้าหมายหลักในการขยายการจัดจำหน่ายของเรา ”
นายธีรัตถ์ กล่าวอีกว่า สำหรับยอดขายในปี 2553 นั้น ท่อตราช้างเราได้ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ประมาณ 4,500 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ WINDSOR ได้ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งดูจากครึ่งปีแรก WINDSOR ยอดขายโตกว่าปีที่แล้วถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และทั้งนี้หากสรุปยอดขายโดยภาพรวมของนวพลาสติกฯ โดยคาดว่าจนถึงสิ้นปีนี้น่าจะมียอดขายรวมแล้วใกล้เคียง 6,000 ล้านบาท ที่มาจากทั้งธุรกิจท่อ,ธุรกิจ WINDSOR และธุรกิจ NAWA INTERTECH
นอกจากนี้ ในส่วนของการบริหารจัดการโรงงานนวพลาสติกอุตสาหกรรม นายธีรัตถ์ ได้กล่าวว่า แนวคิดแบบ Lean ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตเพื่อมุ่งขจัดความสูญเปล่าต่างๆ ภายใต้กระบวนการผลิตเพื่อลดรอบเวลาการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านคุณภาพและบริการ ซึ่งเราได้ตระหนักและมุ่งเน้นในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพในทุกกระบวนการจนถึงการส่งมอบแก่ลูกค้า พร้อมกันนั้นเราส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข เพราะผู้บริหารทุกคนเชื่อว่าการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยหลักการ QOL (Quality of Life) จะทำให้ส่งผลมาถึงการทำงานที่ดีทั้งต่อตนเอง สังคม ตลอดจนเราให้ความสำคัญในเรื่องการมีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมอย่างจริงจังมาโดยตลอด
“ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม สินค้าไวนิลช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่าเนื่องจากใช้ทดแทนไม้ได้เป็นอย่างดี และการผลิตสินค้าไวนิลใช้พลังงานต่ำจึงช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมันและถ่านหิน อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้อีกจึงเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน และในกระบวนการผลิตสินค้าของเรา จะมีเศษที่เหลือจากการผลิตและตัดแต่ง ซึ่งเราจะนำเศษดังกล่าวมาผ่านขั้นตอนการบด แล้วนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าและในการนำเศษพลาสติกมาหมุนเวียนใช้ใหม่นี้ จะช่วยทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างคุ้มค่า และช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วย”
อย่างไรก็ตาม เพื่อตอบสนองความต้องการในการก่อสร้าง และตกแต่งบ้านอย่างครบวงจร เราได้เตรียมนำสินค้าของนวพลาสติกฯ แบรนด์ WINDSOR ได้แก่ สินค้าหน้าต่าง ประตู, สินค้าในกลุ่มเอาท์ดอร์ลิฟวิ่ง อาทิ เช่น ฝ้าชายคา รางน้ำฝน ราวระเบียง แผงบังแดด แผงบังตา พื้นและเฟอร์นิเจอร์ภายนอก สินค้าพื้นไวนิล และไม้ไวนิลเพื่อการตกแต่ง เข้าร่วมในงาน “HOME BUILDER’10” หรืองาน “รับสร้างบ้าน 2010” โดยมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 18- 22 สิงหาคมนี้ ณ ห้องเพลนนารีฮอล์ ศูนย์การประชุมสิริกิติ์ ภายในงานยังมีโปรโมชั่นสำหรับลูกค้าที่มาลงทะเบียนที่บูธ WINDSOR อีกด้วย
SCG Logistics เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด SCG Logistics จึงใช้วิธีการขนส่งเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง และมลพิษทางอากาศ อาทิ การขนส่งหลายรูปแบบโดยใช้พาหนะที่มีอัตราการบริโภคน้ำมันน้อย เช่น รถไฟ หรือ เรือ ร่วมกับรถบรรทุกในการขนส่ง การลดการขนส่งเที่ยวเปล่า โดยบริหารให้รถบรรทุกขนสินค้าทั้งขาไปและ ขากลับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำมัน นอกจากนี้ ยังใช้การขนส่งสินค้ารวมเที่ยวโดยรวบรวมสินค้าของลูกค้าหลายๆราย แล้วใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ส่งไปยังศูนย์กระจายสินค้า แล้วจัดส่งด้วยรถบรรทุกเล็กไปยังลูกค้าปลายทางต่อไป เป็นการลด Green House Gas (GHG) ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง
เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด SCG Logistics จึงใช้วิธีการขนส่งเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง และมลพิษทางอากาศ อาทิ การขนส่งหลายรูปแบบโดยใช้พาหนะที่มีอัตราการบริโภคน้ำมันน้อย เช่น รถไฟ หรือ เรือ ร่วมกับรถบรรทุกในการขนส่ง การลดการขนส่งเที่ยวเปล่า โดยบริหารให้รถบรรทุกขนสินค้าทั้งขาไปและ ขากลับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำมัน นอกจากนี้ ยังใช้การขนส่งสินค้ารวมเที่ยวโดยรวบรวมสินค้าของลูกค้าหลายๆราย แล้วใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ส่งไปยังศูนย์กระจายสินค้า แล้วจัดส่งด้วยรถบรรทุกเล็กไปยังลูกค้าปลายทางต่อไป เป็นการลด Green House Gas (GHG) ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง
6.IT In formation Technology
การนำ IT มาใช้ในการจัดการความรู้
เครือซิเมนต์ไทยหรือ SCG นำ IT มาใช้เพื่อการจัดการความรู้ในแทบทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน
โดยอาศัย Infrastructure และระบบ SCG Computer Network ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงสามารถสร้างระบบ
Web Based Applications ที่เข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทั้งภายในและภายนอกประเทศ
โดยอาศัย Infrastructure และระบบ SCG Computer Network ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงสามารถสร้างระบบ
Web Based Applications ที่เข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ปัจจุบันมี Web Portal ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานได้ 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) ซึ่งมีขอบเขตการทำงานครอบคลุมทั้ง E-Learning และ Knowledge Management System ระบบงานถูกออกแบบให้สามารถเพิ่มเติม Function การทำงานได้โดยไม่จำกัดตามแนวคิดในการออกแบบระบบที่เรียกว่า Jigsaw Module
สำหรับเนื้อหาความรู้ (Contents) ใช้หลักการเดียวกับ Wikipedia คือผู้ใช้ คือผู้ให้ความรู้แก่กันและกัน โดยระบบ จะ Provide เครื่องมือง่ายๆ แก่ผู้ใช้ที่จะนำเสนอเรื่องราวต่างๆ แก่ผู้อื่น หรือร่วมเป็นผู้ดูแลระบบตามสิทธิที่ได้รับมอบหมายจาก Administrator
Application : SCG eLearning (http://scgelearning.cementhai.co.th)
จุดประสงค์ของการนำ Software นี้มาใช้ คือ
1. ทำหน้าที่เป็น LMS (Learning Management System)
2. ทำหน้าที่เป็น CMS (Content Management System)
3. ทำหน้าที่เป็น Web Portal ของระบบ Knowledge Management (KM)
4. ทำหน้าที่เป็น Web Tools ที่สามารถเรียกใช้งานได้จากเว็บอื่นๆ โดยวิธีการสร้าง Links เข้ามาที่ระบบนี้
1. ทำหน้าที่เป็น LMS (Learning Management System)
2. ทำหน้าที่เป็น CMS (Content Management System)
3. ทำหน้าที่เป็น Web Portal ของระบบ Knowledge Management (KM)
4. ทำหน้าที่เป็น Web Tools ที่สามารถเรียกใช้งานได้จากเว็บอื่นๆ โดยวิธีการสร้าง Links เข้ามาที่ระบบนี้
แนวคิดในการออกแบบระบบ
ระบบงานนี้ใช้แนวคิดที่เรียกว่า Jigsaw Modules คือ สร้างเป็น Module ย่อยๆ ที่ทำงานเป็นอิสระแต่สามารถนำมาประกอบเพื่อใช้งานร่วมกับ Module อื่นๆ ได้อย่างกลมกลืน ภายใต้ระบบใหญ่ที่สามารถให้สิทธิ์กับผู้ใช้ระดับต่างๆ เพื่อเข้าไปใช้งานหรือเพื่อเข้าไปจัดการ (เช่นAdd/Change/Delete) กับข้อมูลในModule ต่างๆ ได้อย่างคล่องตัวจุดเด่นประการหนึ่งของระบบนี้คือ ระบบสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ที่สามารถค้นหาข้อมูลได้จากชื่อเรื่อง (Title) จากรายละเอียดที่เป็นตัวอักษร (Description) และจากคำหลัก (Keyword หรือ Tag)นอกจากนี้ ระบบ SCG eLearning ยังมีระบบรายงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถรายงานพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ได้ตลอดทุกวินาทีตั้งแต่เริ่มต้น Log-in จนกระทั่งออกจากระบบ โดย Administratorสามารถสร้างรายงานตามช่วงระยะเวลาที่ต้องการได้ และสามารถ Export รายงานไปยัง Excel เพื่อนำไปวิเคราะห์หรือสามารถนำไปสร้าง Chart เพื่อใช้ในการนำเสนอต่อไป
ระบบงานนี้ใช้แนวคิดที่เรียกว่า Jigsaw Modules คือ สร้างเป็น Module ย่อยๆ ที่ทำงานเป็นอิสระแต่สามารถนำมาประกอบเพื่อใช้งานร่วมกับ Module อื่นๆ ได้อย่างกลมกลืน ภายใต้ระบบใหญ่ที่สามารถให้สิทธิ์กับผู้ใช้ระดับต่างๆ เพื่อเข้าไปใช้งานหรือเพื่อเข้าไปจัดการ (เช่นAdd/Change/Delete) กับข้อมูลในModule ต่างๆ ได้อย่างคล่องตัวจุดเด่นประการหนึ่งของระบบนี้คือ ระบบสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ที่สามารถค้นหาข้อมูลได้จากชื่อเรื่อง (Title) จากรายละเอียดที่เป็นตัวอักษร (Description) และจากคำหลัก (Keyword หรือ Tag)นอกจากนี้ ระบบ SCG eLearning ยังมีระบบรายงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถรายงานพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ได้ตลอดทุกวินาทีตั้งแต่เริ่มต้น Log-in จนกระทั่งออกจากระบบ โดย Administratorสามารถสร้างรายงานตามช่วงระยะเวลาที่ต้องการได้ และสามารถ Export รายงานไปยัง Excel เพื่อนำไปวิเคราะห์หรือสามารถนำไปสร้าง Chart เพื่อใช้ในการนำเสนอต่อไป
Module ต่างๆ ในระบบ
1. System Modules (for Administrator only)
- User Management and Permission Control
- Reports System
- Menu Builder
- Configuration Setup
- User’s Manual
- Backup System
2. Annoucement
3. Up/Download
4. Webboard
5. Blog/Chat
6. Wiki
7. Links
8. Photo Album
9. Video Clip Sharing 16. อื่นๆ เช่น ทำเนียบพนักงาน / e-Form / Personal Message
1. System Modules (for Administrator only)
- User Management and Permission Control
- Reports System
- Menu Builder
- Configuration Setup
- User’s Manual
- Backup System
2. Annoucement
3. Up/Download
4. Webboard
5. Blog/Chat
6. Wiki
7. Links
8. Photo Album
9. Video Clip Sharing 16. อื่นๆ เช่น ทำเนียบพนักงาน / e-Form / Personal Message
System Modules : User Management and Permission Control
หลักการทำงานของระบบ
1. ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานทั้งหมดของเครือซิเมนต์ไทย (SCG) จะเก็บอยู่ในฐานข้อมูลของระบบ e-HR ซึ่ง
ใช้ SQL Server 2000 เป็น DBMS ระบบงานย่อยๆ ทั้งหลาย ถ้าจำเป็นต้องใช้ข้อมูลพนักงานที่ Update ล่าสุดจะต้องเขียนโปรแกรมเพื่อ Interface กับ SQL Server ผ่านระบบ e-HR เสมอ ซึ่งระบบ scgelearning นี้ก็เช่นเดียวกัน
2.ผู้ใช้รายใหม่จะต้องลงทะเบียน
ใช้ SQL Server 2000 เป็น DBMS ระบบงานย่อยๆ ทั้งหลาย ถ้าจำเป็นต้องใช้ข้อมูลพนักงานที่ Update ล่าสุดจะต้องเขียนโปรแกรมเพื่อ Interface กับ SQL Server ผ่านระบบ e-HR เสมอ ซึ่งระบบ scgelearning นี้ก็เช่นเดียวกัน
2.ผู้ใช้รายใหม่จะต้องลงทะเบียน
โดยกรอก Email Address ของตนเข้าไป ระบบจะตรวจสอบว่า Emailนี้มีอยู่ในฐานข้อมูลพนักงานหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าเป็นพนักงาน SCG จริง ก็จะนำข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในระบบเข้ามาเก็บไว้ใน Table ของระบบนี้ เช่น ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด หมายเลขโทรศัพท์ ฯลฯ จากนั้นผู้สมัครต้องกำหนด User Name และ Password ด้วยตนเองและใช้
User Name และ Password นี้ เพื่อการ Log in เข้าใช้งานในครั้งต่อๆ ไป แต่ถ้า Email Address ที่ใส่เข้าไปไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลพนักงาน ก็จะอนุญาตให้สมัครต่อได้ แต่จะมีสถานะเป็นเพียง Guesหรือแขกผู้มาเยือนเท่านั้น ดังนั้นสิทธิต่างๆ ในการใช้งานจึงไม่เท่ากับพนักงานของ SCG นอกจากว่า
Administrator จะกำหนดให้เป็นอย่างอื่น
3.ผู้ใช้ทุกรายที่สมัครเป็นสมาชิกรายใหม่
User Name และ Password นี้ เพื่อการ Log in เข้าใช้งานในครั้งต่อๆ ไป แต่ถ้า Email Address ที่ใส่เข้าไปไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลพนักงาน ก็จะอนุญาตให้สมัครต่อได้ แต่จะมีสถานะเป็นเพียง Guesหรือแขกผู้มาเยือนเท่านั้น ดังนั้นสิทธิต่างๆ ในการใช้งานจึงไม่เท่ากับพนักงานของ SCG นอกจากว่า
Administrator จะกำหนดให้เป็นอย่างอื่น
3.ผู้ใช้ทุกรายที่สมัครเป็นสมาชิกรายใหม่
จะได้รับสิทธิเป็น “ผู้ใช้ทั่วไประดับ 1” มีพื้นที่บน Host สำหรับ
ใช้งาน เช่น Upload ไฟล์ต่างๆ ได้ 20 MB. แต่ถ้าเข้ามาใช้งานบ่อยๆ และมีไฟล์ที่ต้อง Upload มากขึ้น
จะพิจารณาปรับระดับผู้ใช้เป็น “ผู้ใช้งานทั่วไประดับ 2” หรือสูงขึ้นไปอีกตามที่ Administrator จะเห็น
สมควร เช่น อาจจะปรับให้เป็น “ผู้ดูแลระบบ” ในระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบก็ได้
ใช้งาน เช่น Upload ไฟล์ต่างๆ ได้ 20 MB. แต่ถ้าเข้ามาใช้งานบ่อยๆ และมีไฟล์ที่ต้อง Upload มากขึ้น
จะพิจารณาปรับระดับผู้ใช้เป็น “ผู้ใช้งานทั่วไประดับ 2” หรือสูงขึ้นไปอีกตามที่ Administrator จะเห็น
สมควร เช่น อาจจะปรับให้เป็น “ผู้ดูแลระบบ” ในระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบก็ได้
Modules : Annoucement หรือ ประกาศ/ข่าวสาร
หลักการทำงานของระบบ
1.Module นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับประกาศข่าวสาร หรือแจ้งให้พนักงานทราบข้อมูลต่างๆ ที่
ต้องการ เช่น ประกาศเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ประกาศแจ้งกำหนดการจัดอบรม/สัมมนา
หรือรายงานข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ ภายในองค์กร เป็นต้น
2.ผู้ที่สามารถเพิ่ม/แก้ไขข่าวสาร ได้แก่ผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิเท่านั้น โดยต้องกรอกชื่อหัวข้อเรื่อง (Title)
รายละเอียดเพิ่มเติม (Description) เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องราวอย่างย่อ โดยไม่ต้องเข้า
ไปอ่านรายละเอียดภายในเนื้อหาข่าว
3.สำหรับเนื้อหาประกาศ/ข่าวสารโดยละเอียด จะมีพื้นที่เฉพาะสำหรับกรอกข้อมูล เรียกว่า Java
Word Editor ซึ่งเป็น Editor ที่ให้ผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น (ดูตัวอย่างหน้าถัดไป)
- ข้อความธรรมดา (Text) ที่กำหนดรูปแบบตัวอักษรและสีตัวอักษร/พื้น ได้เหมือนกับ MS-Word
- สามารถกำหนด Bullet / Table / Special Character ได้
- สามารถวางรูปภาพได้ / สามารถวาง Multimedia Object ได้
- สามารถใส่ Links ได้
- สามารถเปลี่ยนมุมมองเป็น HTML Script เพื่อเขียน Script ต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้ใช้
4.สามารถกำหนดคำหลัก (Keyword หรือ Tag) เพื่อใช้ในการค้นหา
5.สามารถเปิดหรือปิดรับ Comment จากผู้อ่านได้
6.สามารถเปิดหรือปิดรับ Rating จากผู้อ่านได้
7.สามารถแนบไฟล์ (Files Attach) ได้ สามารถแนบ Link ได้
8.สามารถกำหนดหมวดหมู่ของเนื้อหาได้เองโดยผู้ใช้
9.สามารถกำหนดวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุดการนำเสนอข้อมูลให้สาธารณชนทราบได้
10.สามารถค้นหาได้จาก Title , Description และ Tag
11.สามารถจัดลำดับการแสดงข่าวสารได้ใหม่ ตามความต้องการหรือตามความสำคัญของข่าวสาร
12.สามารถแนบภาพเล็กๆ คู่ไปกับชื่อหัวข้อเรื่อง เพื่อดึงดูดความน่าสนใจของข่าวสารได้
ต้องการ เช่น ประกาศเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ประกาศแจ้งกำหนดการจัดอบรม/สัมมนา
หรือรายงานข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ ภายในองค์กร เป็นต้น
2.ผู้ที่สามารถเพิ่ม/แก้ไขข่าวสาร ได้แก่ผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิเท่านั้น โดยต้องกรอกชื่อหัวข้อเรื่อง (Title)
รายละเอียดเพิ่มเติม (Description) เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องราวอย่างย่อ โดยไม่ต้องเข้า
ไปอ่านรายละเอียดภายในเนื้อหาข่าว
3.สำหรับเนื้อหาประกาศ/ข่าวสารโดยละเอียด จะมีพื้นที่เฉพาะสำหรับกรอกข้อมูล เรียกว่า Java
Word Editor ซึ่งเป็น Editor ที่ให้ผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น (ดูตัวอย่างหน้าถัดไป)
- ข้อความธรรมดา (Text) ที่กำหนดรูปแบบตัวอักษรและสีตัวอักษร/พื้น ได้เหมือนกับ MS-Word
- สามารถกำหนด Bullet / Table / Special Character ได้
- สามารถวางรูปภาพได้ / สามารถวาง Multimedia Object ได้
- สามารถใส่ Links ได้
- สามารถเปลี่ยนมุมมองเป็น HTML Script เพื่อเขียน Script ต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้ใช้
4.สามารถกำหนดคำหลัก (Keyword หรือ Tag) เพื่อใช้ในการค้นหา
5.สามารถเปิดหรือปิดรับ Comment จากผู้อ่านได้
6.สามารถเปิดหรือปิดรับ Rating จากผู้อ่านได้
7.สามารถแนบไฟล์ (Files Attach) ได้ สามารถแนบ Link ได้
8.สามารถกำหนดหมวดหมู่ของเนื้อหาได้เองโดยผู้ใช้
9.สามารถกำหนดวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุดการนำเสนอข้อมูลให้สาธารณชนทราบได้
10.สามารถค้นหาได้จาก Title , Description และ Tag
11.สามารถจัดลำดับการแสดงข่าวสารได้ใหม่ ตามความต้องการหรือตามความสำคัญของข่าวสาร
12.สามารถแนบภาพเล็กๆ คู่ไปกับชื่อหัวข้อเรื่อง เพื่อดึงดูดความน่าสนใจของข่าวสารได้
Modules : กระดานสนทนา (Webboard)
หลักการทำงานของระบบ
1.ใน SCG เรียกกระดานสนทนาหรือ Webboard ว่า Knowledge Sharing Board หรือ KSB ซึ่งใช้
เป็นช่องทางให้พนักงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยแยกหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนและมีการ
กำหนดตัวบุคคลทำหน้าที่เป็น Expert คอยดูแลเว็บและตอบคำถามหรือส่งคำถามให้ผู้เกี่ยวข้อง
2.การทำงานของระบบ เหมือนกับ Webboard ทั่วไป ต่างกันตรงที่ผู้ตั้งคำถามจะได้รับคำตอบแน่นอน
จากผู้เข้าเยี่ยมชมรายอื่น หรือจาก Expert ในหมวดหมู่นั้นๆ
เป็นช่องทางให้พนักงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยแยกหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนและมีการ
กำหนดตัวบุคคลทำหน้าที่เป็น Expert คอยดูแลเว็บและตอบคำถามหรือส่งคำถามให้ผู้เกี่ยวข้อง
2.การทำงานของระบบ เหมือนกับ Webboard ทั่วไป ต่างกันตรงที่ผู้ตั้งคำถามจะได้รับคำตอบแน่นอน
จากผู้เข้าเยี่ยมชมรายอื่น หรือจาก Expert ในหมวดหมู่นั้นๆ
Modules : SCG Blog
หลักการทำงานของระบบ
1.SCG Blog สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็น “พื้นที่ประเทืองปัญญา” ที่เปิดโอกาสให้พนักงาน
SCG ใช้เป็นเวทีในการเขียนบันทึกหรือเรื่องราวที่เป็น Tacit Knowledge ของตนเอง และพร้อมจะนำออกเผยแพร่หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนพนักงาน SCG คนอื่นๆ
2.หลักการทำงานของ SCG Blog คือ
- ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็น SCG Blogger และได้รับการอนุญาตจาก Administrator ก่อน จึงจะได้รับการจัดสรรพื้นที่สำหรับสร้าง Blog ของตนเอง
- ใน Blog ของ SCG Blogger แต่ละคน สามารถสร้าง “บันทึก” ได้โดยไม่จำกัดจำนวน และยังสามารถสร้างหมวดหมู่ของตนเอง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจัดเก็บบันทึกอีกด้วย
นอกจากนั้นเจ้าของ Blog ยังสามารถกำหนดสิทธิการเข้ามาอ่าน ว่าต้องการให้ “บันทึก” ใดเป็น
บันทึกส่วนตัว และ “บันทึก” ใดเป็นบันทึกที่อนุญาตให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านและให้ Comment ได้
- บันทึกที่สร้างใหม่จะถูก Post ขึ้นบนบอร์ดที่ส่วนกลาง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนในระบบสามารถมองเห็นและเข้าเยี่ยมชมได้ทันที ยกเว้นบันทึกส่วนตัวที่ไม่เปิดเผยแก่สาธารณชน โดยที่บอร์ดส่วนกลางนี้จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกสำหรับผู้ใช้ในการค้นหาเรื่องที่ต้องการ
- การสร้างหรือแก้ไข “บันทึก” ใดๆ สามารถกระทำบน Java Word Editor เหมือนกับการสร้างเนื้อหา (Contents) อื่นๆ
SCG ใช้เป็นเวทีในการเขียนบันทึกหรือเรื่องราวที่เป็น Tacit Knowledge ของตนเอง และพร้อมจะนำออกเผยแพร่หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนพนักงาน SCG คนอื่นๆ
2.หลักการทำงานของ SCG Blog คือ
- ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็น SCG Blogger และได้รับการอนุญาตจาก Administrator ก่อน จึงจะได้รับการจัดสรรพื้นที่สำหรับสร้าง Blog ของตนเอง
- ใน Blog ของ SCG Blogger แต่ละคน สามารถสร้าง “บันทึก” ได้โดยไม่จำกัดจำนวน และยังสามารถสร้างหมวดหมู่ของตนเอง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจัดเก็บบันทึกอีกด้วย
นอกจากนั้นเจ้าของ Blog ยังสามารถกำหนดสิทธิการเข้ามาอ่าน ว่าต้องการให้ “บันทึก” ใดเป็น
บันทึกส่วนตัว และ “บันทึก” ใดเป็นบันทึกที่อนุญาตให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านและให้ Comment ได้
- บันทึกที่สร้างใหม่จะถูก Post ขึ้นบนบอร์ดที่ส่วนกลาง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนในระบบสามารถมองเห็นและเข้าเยี่ยมชมได้ทันที ยกเว้นบันทึกส่วนตัวที่ไม่เปิดเผยแก่สาธารณชน โดยที่บอร์ดส่วนกลางนี้จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกสำหรับผู้ใช้ในการค้นหาเรื่องที่ต้องการ
- การสร้างหรือแก้ไข “บันทึก” ใดๆ สามารถกระทำบน Java Word Editor เหมือนกับการสร้างเนื้อหา (Contents) อื่นๆ
Modules : Chat Room หรือห้องพูดคุยแบบ Real Time
หลักการทำงานของระบบ
1.SCG Chat Room สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นช่องทางหนึ่ง สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียน
รู้ผ่านสื่ออิเล็กโทรนิค ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ในหลักสูตร BCD ซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่มีรู้แบบการเรียนรู้หลายวิธีผสมผสานกัน ได้แก่ การเรียนแบบ Face
to Face ในห้องเรียน การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่ออิเล็กโทรนิค การทำข้อสอบ Online การประ
เมินผลผ่านระบบ e-Questionnaire ในหลักสูตรนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีช่องทางในการซักถามวิทยากรหรือพูดคุยกับเพื่อนร่วมรุ่นผ่าน Webboard และถ้าต้องการพูดคุยแบบ Real Timeก็จะนัดเวลากัน เข้าห้องพูดคุย (SCG Chat Room) เพื่อพูดคุยกันแบบสดๆ
2.หลักการทำงานของ SCG Chat Room คือ
- Administrator จะเป็นผู้สร้างห้องเตรียมไว้ให้
- ผู้ใช้สามารถเลือกห้องที่ต้องการเข้าไปพูดคุยได้ตามความต้องการ
- ผู้ใช้ต้องพิมพ์ข้อความลงในช่องรับข้อความโดยสามารถเลือกสีของตัวอักษรได้และยังเลือกรูปภาพที่แสดงอารมณ์ต่างๆ แนบไปกับข้อความได้อีกด้วย
- ถ้าผู้ใช้ต้องการ Upload ไฟล์เอกสารให้กันและกันในระหว่างพูดคุย ก็สามารถทำได้เช่นกัน
รู้ผ่านสื่ออิเล็กโทรนิค ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ในหลักสูตร BCD ซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่มีรู้แบบการเรียนรู้หลายวิธีผสมผสานกัน ได้แก่ การเรียนแบบ Face
to Face ในห้องเรียน การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่ออิเล็กโทรนิค การทำข้อสอบ Online การประ
เมินผลผ่านระบบ e-Questionnaire ในหลักสูตรนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีช่องทางในการซักถามวิทยากรหรือพูดคุยกับเพื่อนร่วมรุ่นผ่าน Webboard และถ้าต้องการพูดคุยแบบ Real Timeก็จะนัดเวลากัน เข้าห้องพูดคุย (SCG Chat Room) เพื่อพูดคุยกันแบบสดๆ
2.หลักการทำงานของ SCG Chat Room คือ
- Administrator จะเป็นผู้สร้างห้องเตรียมไว้ให้
- ผู้ใช้สามารถเลือกห้องที่ต้องการเข้าไปพูดคุยได้ตามความต้องการ
- ผู้ใช้ต้องพิมพ์ข้อความลงในช่องรับข้อความโดยสามารถเลือกสีของตัวอักษรได้และยังเลือกรูปภาพที่แสดงอารมณ์ต่างๆ แนบไปกับข้อความได้อีกด้วย
- ถ้าผู้ใช้ต้องการ Upload ไฟล์เอกสารให้กันและกันในระหว่างพูดคุย ก็สามารถทำได้เช่นกัน
Modules : Upload / Download
หลักการทำงานของระบบ
1.Upload/Download สร้างขึ้นเพื่อให้บริการโอนข้อมูลผ่านเครือข่าย SCG Intranet โดยสามารถโอนข้อมูลด้วยการ Upload ไฟล์ขนาดใหญ่ได้ถึง 100 MB. ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการส่งไฟล์ระหว่างกัน โดย
เฉพาะไฟล์ขนาดใหญ่ๆ ที่ไม่สามารถแนบไปกับ Email ได้ การให้บริการโอนข้อมูลนี้จะช่วยให้การ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน SCG สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นเนื่องจากสามารถส่งผ่านไฟล์ความรู้ในรูปแบบ
Multimedia ที่มีขนาดใหญ่ๆเช่น ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียง ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วกว่าการบันทึกลง
แผ่นซีดีและส่งให้ทางไปรษณีย์
2.หลักการทำงานของ Module Upload/Download ไฟล์
- ผู้ใช้ต้องลงทะเบียนขออนุญาตใช้บริการ Upload/Download ไฟล์ โดย Administrator จะเป็นผู้พิจารณาอนุญาตการใช้งานซึ่งผู้ใช้ต้องยอมรับเงื่อนไขต่างๆ เช่น ไม่ Upload ไฟล์ที่ไม่สมควร
ได้แก่ไฟล์ที่ละเมิดลิขสิทธิ ภาพลามกอนาจารหรือมีสิ่งที่เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นต้น
- สามารถทวนสอบได้ว่า ไฟล์แต่ละไฟล์ที่ Upload นั้น มาจากผู้ใช้รายใด Upload เมื่อไร และมีใครบ้างที่ Download ไฟล์ดังกล่าวไปบ้าง
- ผู้ Upload ไฟล์ จะต้องให้ข้อมูลของไฟล์ที่จะทำการ Upload ดังนี้
1. ชื่อเอกสาร เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าเป็นไฟล์เกี่ยวกับอะไร
2. รายละเอียด เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าไฟล์นั้นมีไว้ใช้ประโยชน์อะไร และรายละเอียดเพิ่มเติม
3. วันหมดอายุ เพื่อให้ระบบ ทำการลบไฟล์นั้นออกไปเมื่อครบกำหนดแล้ว
- สามารถ Upload ได้ครั้งละหลายๆ ไฟล์
- สามารถกำหนดผู้ที่มีสิทธิ Download ได้ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
เฉพาะไฟล์ขนาดใหญ่ๆ ที่ไม่สามารถแนบไปกับ Email ได้ การให้บริการโอนข้อมูลนี้จะช่วยให้การ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน SCG สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นเนื่องจากสามารถส่งผ่านไฟล์ความรู้ในรูปแบบ
Multimedia ที่มีขนาดใหญ่ๆเช่น ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียง ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วกว่าการบันทึกลง
แผ่นซีดีและส่งให้ทางไปรษณีย์
2.หลักการทำงานของ Module Upload/Download ไฟล์
- ผู้ใช้ต้องลงทะเบียนขออนุญาตใช้บริการ Upload/Download ไฟล์ โดย Administrator จะเป็นผู้พิจารณาอนุญาตการใช้งานซึ่งผู้ใช้ต้องยอมรับเงื่อนไขต่างๆ เช่น ไม่ Upload ไฟล์ที่ไม่สมควร
ได้แก่ไฟล์ที่ละเมิดลิขสิทธิ ภาพลามกอนาจารหรือมีสิ่งที่เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นต้น
- สามารถทวนสอบได้ว่า ไฟล์แต่ละไฟล์ที่ Upload นั้น มาจากผู้ใช้รายใด Upload เมื่อไร และมีใครบ้างที่ Download ไฟล์ดังกล่าวไปบ้าง
- ผู้ Upload ไฟล์ จะต้องให้ข้อมูลของไฟล์ที่จะทำการ Upload ดังนี้
1. ชื่อเอกสาร เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าเป็นไฟล์เกี่ยวกับอะไร
2. รายละเอียด เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าไฟล์นั้นมีไว้ใช้ประโยชน์อะไร และรายละเอียดเพิ่มเติม
3. วันหมดอายุ เพื่อให้ระบบ ทำการลบไฟล์นั้นออกไปเมื่อครบกำหนดแล้ว
- สามารถ Upload ได้ครั้งละหลายๆ ไฟล์
- สามารถกำหนดผู้ที่มีสิทธิ Download ได้ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
แหล่งอ้างอิง
· Forbes Global 2000 (2007)
· สถาบันส่งเสริมความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี อาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย กรณีศึกษาเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพ การจัดการรถบรรทุกขนส่งสินค้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น